Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5538
Title: การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
The development of critical thinking skills on Thai literature analysis : The story of Phra Aphaimani Nee Nang Phisuea, By managing flipped classroom style learning system with analytical thinking exercises for Matthayomsuksa 3
Authors: Pimpisut Khanthaseema
พิมพ์พิสุทธิ์ ขันทะสีมา
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Naresuan University
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
kanchanaw@nu.ac.th
kanchanaw@nu.ac.th
Keywords: ทักษะการคิดวิเคราะห์
แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
Critical thinking skills
Analytical thinking exercises
The flipped classroom style
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aims to 1) study the effectiveness of Thai literature analytical thinking exercise of the story of Phra Aphai Manee Nee Nang Phisuea, to be efficiency up to the standard of 75/75, 2) compare critical thinking skill of Thai literature during Pretest and Posttest by managing flipped classroom style learning system with analytical thinking exercises,3) examine student learning’s satisfaction of flipped classroom style with analytical thinking exercises. The sample group was 43 people in Matthayomsuksa 3/3 at the BangkrathumPittayakom school, for the academic year 2022. The sample group was collected purposely and the research instruments were 1) a lesson plan by managing flipped classroom style learning system with analytical thinking exercises, 2) the analytical thinking exercises of the story of Phra Aphai Mani Nee Nang Phisuea, 3) a critical thinking skill test, 4) a satisfaction assessment form. The data analysis used mean (x̅), standard deviation (S.D.), t-test dependent and efficiency proportion values (E1/E2). The research results found that:                                    1. The results of the effectiveness of Thai literature Analytical Thinking Exercises the story of Phra Aphai Mani Nee Nang Phisuea by managing flipped classroom style learning system with analytical thinking exercises had the efficiency level of (E1/E2), equals 79.68/81.32 which is higher than the standard criteria of 75/75.                              2. The average scores for the results of comparing analytical thinking exercises during Pretest and Posttest learning were 14.37 and 24.33, which the posttest scores is significantly higher than pretest score at .05 level.                            3. The overall satisfaction result of the test on the student’s satisfaction learning was met the highest satisfied level 
          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ วรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิด วิเคราะห์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็น อิสระต่อกัน (t-test dependent) และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ผลการวิจัยพบว่า                                                   1. แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.68/81.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่กำหนดไว้                                               2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเท่ากับ 14.37 คะแนน และ 24.33 คะแนน โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                                                                                                     3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5538
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PimpisutKhanthaseema.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.