Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5380
Title: คีโมอำนาจ: ประวัติศาสตร์เคมีกับความเป็นสมัยใหม่ในสังคมสยาม
Chemo-power: A History of Chemistry and Modernity in Siam
Authors: SIKKHA SONGKUMCHUM
สิกขา สองคำชุม
Davisakd Puaksom
ทวีศักดิ์ เผือกสม
Naresuan University
Davisakd Puaksom
ทวีศักดิ์ เผือกสม
davisakdp@nu.ac.th
davisakdp@nu.ac.th
Keywords: เคมี
อำนาจ/ความรู้
ระเบียบ
ญาณวิทยาเชิงประวัติศาสตร์
สังคมสยาม
Chemistry
Power/Knowledge
Order
Historical Epistemology
Siam
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: A thesis titled “Chemo-power: A History of Chemistry and Modernity in Siam” aims to make use of conceptual-theory framework for studying a history of chemistry in the Siamese society. Accordingly, the author has employed a “historical epistemology” concept, Michel Foucault’s “power/knowledge” analysis, and “travelling-confrontation-translation” concept to illustrate the Thai intellectuals' reception of chemical knowledge that was formulated within the framework of epistemology. In short, this epistemology had eventually manufactured a form of "modernity" in the Siamese society in the 1840s-1970s. This study has shown that the chemical knowledge which travelled to Siam through the Colonial regime and the Industrial Revolution in the nineteenth century had inevitably effected the definition of “element” (dhatu) from a “state” in the Buddhist “analogism” ontology and epistemology to a new form of chemical ontology and epistemology. Thereby, the “element” (dhatu) had been redefined with a new concept in instituting a chemical knowledge before the discovery of atomic structure or “chemo-power” in Siamese society. When the discovery of atomic structure and “subatomic particles” in the early twentieth century had thus changed the chemical knowledge that led to the “atomic power,” the former definition of “element” (dhatu) was dismissed through the coinage of new Thai scientific terms in the 1930s-1940s. Moreover, the changing of epistemology of the chemical knowledge had also effected the disestablishment of traditional alchemy in the Siamese society as well. The consequence of atomic power had assumingly led to the instituting of the “chemical regime of truth” that obligates the truth about nature to overwhemingly depend on the chemical knowledge and the “chemo-gaze” that monopolized the epistemic concept of things in nature through the chemical knowledge and the chemical regime of truth.
วิทยานิพนธ์เรื่อง “คีโมอำนาจ: ประวัติศาสตร์เคมีกับความเป็นสมัยใหม่ในสังคมสยาม” มุ่งชี้ให้เห็นถึงการนำกรอบแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในสังคมสยาม  กล่าวคือ การนำแนวคิด “ญาณวิทยาเชิงประวัติศาสตร์” (historical epistemology) การศึกษา “อำนาจ/ความรู้” ของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) และกรอบแนวคิด “เดินทาง-ปะทะ-ปรับแปล” มาอธิบายการรับความรู้เคมีของปัญญาชนไทยที่นำไปสู่การก่อรูปของ “ความเป็นสมัยใหม่” ในสังคมสยามช่วงทศวรรษ 1840-1970 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เคมีที่เดินทางเข้าสู่สังคมสยามผ่านแรงผลักดันของระบอบอาณานิคมและการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีส่วนทำให้ภววิทยาและญาณวิทยาของธาตุตามหลักพุทธศาสนาจากที่แต่เดิมทีเป็นแบบ “อุปมานิยม” (analogism) ได้เปลี่ยนมาเป็นภววิทยาแบบใหม่และระเบียบของญาณวิทยาทางเคมี  ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางญาณวิทยาของการปรับเปลี่ยนความหมายของ “ธาตุ” จาก “สภาวะ” (state) มาเป็น “สิ่ง” (entity)  เพราะฉะนั้น คำว่า “ธาตุ” จึงเป็นแกนกลางของญาณวิทยาในการอธิบายความรู้เคมีก่อนการค้นพบโครงสร้างอะตอมหรือ “คีโมอำนาจ” (chemo-power) ในสังคมสยาม  โดยที่การค้นพบโครงสร้างอะตอมและ “อนุภาคระดับที่เล็กกว่าอะตอม” (subatomic particle) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนให้ความรู้เคมีหลังการค้นพบโครงสร้างอะตอมกลายเป็น “อำนาจปรมาณู” (atomic power)  ความหมายเดิมของ “ธาตุ” จึงถูกปฏิเสธผ่านการบัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ในทศวรรษ 1930-1940  ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของญาณวิทยาของความรู้ยังมีส่วนทำให้การเล่นแร่แปรธาตุแบบจารีตถูกปฏิเสธอีกด้วยเช่นกัน ผลลัพธ์ของการสถาปนาอำนาจปรมาณูจึงนำไปสู่การเสนอมโนทัศน์ทางญาณวิทยาว่าด้วย “ระบอบความจริงทางเคมี” (chemical regime of truth) อันหมายความถึงระบอบที่กำหนดขอบเขตความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติให้ขึ้นอยู่กับความรู้ทางเคมีและนำไปสู่ “สายตาทางเคมี” (chemo-gaze) ที่เป็นการจ้องมองของสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติโดยมีพื้นฐานจากความรู้เคมีและมีระบอบความจริงทางเคมีรองรับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5380
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SikkhaSongkumchum.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.