Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5372
Title: แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
GUIDELINES DEVELOPMENT OF ENGLISH TEACHERS’ LEARNING MANAGEMENT COMPETENCY IN THE DIGITAL AGE UNDER THE OFFICE OF NAKHON SAWAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Authors: Panumas Kesonsuriwong
ภาณุมาศ เกษรสุริวงค์
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
Naresuan University
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
sathirapornc@nu.ac.th
sathirapornc@nu.ac.th
Keywords: สมรรถนะการจัดการเรียนรู้
ครูภาษาอังกฤษ
ยุคดิจิทัล
learning management competency
digital age
english teachers
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to investigate the competency and guidelines for the development of learning management competency in the digital age of English teachers in schools under the supervision of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. The research methodology was divided into 2 steps: The first is study the competency and guidelines for the development of learning management competency in the digital age of English teachers in schools under the supervision of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. The 103 samples consisted of English teachers by stratified sampling. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed using basic statistics including mean and standard deviation. The second step is study guidelines for the development of learning management competency in the digital age of English teachers. The informants were 4 experts, selected by purposive sampling. The in-depth interview was used for collecting information. The data were statistically analyzed using content analysis. The research results were as follows: 1. Results of a study of English teachers' competency in learning management in the digital age in schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2, it was found that the use of media, information technology and educational innovation had the highest mean; and the use of digital platforms in learning management had the lowest. 2. The guidelines for the development of learning management competency in the digital age of English teachers found that the Educational Service Area Office should setup the seminars and workshops to improve the skills management competency in the digital age of English teachers and English teachers should study and share knowledge in the Professional Learning Community (PLC) to develop learning management competency in the digital age.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยใช้แบบสอบถามสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 103 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้เรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการจัดการเรียนรู้ 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรม/สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษาในการเข้าร่วมการอบรม และครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของตนเอง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5372
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PanumasKesonsuriwong.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.