Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5358
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการกระจ่างค่านิยม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตระหนักรู้ตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Development of Learning Activity Based on Values Clarification Theory to Enhance Self-Awareness for Lower Secondary School Students
Authors: Hatairat Srimala
หทัยรัตน์ ศรีมาลา
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
angkanao@nu.ac.th
angkanao@nu.ac.th
Keywords: การกระจ่างค่านิยม
กิจกรรมการเรียนรู้
การตระหนักรู้ตนเอง
Value clarification
Learning Activity
Self-Awareness
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to develop learning activity based on Value Clarification Theory to enhance self-awareness for lower secondary school students. The development and research methods are as the followings: 1st Step – Building and evaluating the activity efficiency by having 5 experts to consider the appropriateness which has been tested with 3 lower-secondary school students from Padoongrasdra School in order to assess their appropriateness in language, time, and instructional media. After these aspects have been developed, taken to be used on 9 lower-secondary school students from Padoongrasdra School, and evaluated the efficiency of 75/75 criteria, the data analysis was conducted by finding mean and statistics, standard deviation, as well as efficiency evaluation (E1/E2). 2nd Step – Studying the result of using the learning activity by having samplings who are 30 lower-secondary school students from Padoongrasdra School in their 2nd semester of academic year 2021 tested with Simple Random Sampling and One-Group Pretest-Posttest Design.  The research result found that: 1) The learning activity based on Value Clarification Theory to enhance self-awareness for secondary school students consists of 5 steps which are Values Exploration, Choosing Considerately, Pricing Value, Affirming Value, Acting on Values. The experts have evaluated the appropriateness to be in the most level (Mean = 4.55, S.D. = 0.67) and the efficiency of 80.90/78.44 2) The result of using learning activity demonstrated that 2.1) During the use of learning activity, students have expressed their self-awareness in 3 aspects – (1) Emotional Awareness, students have expressed their behavior in 4 levels of emotional awareness. (2) Accurate Self-Assessment, students have expressed their behavior in 4 levels of accurate self-assessment. (3) Self-Confident, students have expressed their behavior in 3 levels of self-confident. 2.2) When making comparison between pre-test and post-test of self-awareness assessment to evaluate before and after use of learning activity, it was found that students have their ability of self-awareness in 3 aspects which are Emotional Awareness, Accurate Self-Assessment, as well as Self-Confident was higher than the pre-test score at the .05 level of significance in every aspect.
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการกระจ่างค่านิยมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตระหนักรู้ตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรม พิจารณาความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนผดุงราษฎร์จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมด้านภาษา เวลา และสื่อการเรียนรู้ หลังการปรับปรุงแก้ไข นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนผดุงราษฎร์จำนวน 9 คน และประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินประสิทธิภาพ (E1/E2) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้กิจกรรม มีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนผดุงราษฎร์ 30 คน ภาคเรียนที่ 2/2564  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้แผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการกระจ่างค่านิยมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตระหนักรู้ตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสำรวจคุณค่า ขั้นเลือกอย่างพิจารณา ขั้นตรวจสอบคุณค่า ขั้นยืนยันคุณค่า ขั้นแสดงออก และผู้เชียวชาญประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.55, S.D. = 0.67) และมีประสิทธิภาพ 80.90/78.44 2.) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 2.1) ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนเกิดการตระหนักรู้ตนเอง ใน 3 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง นักเรียนได้แสดงพฤติกรรมบ่งชี้ทั้ง 4 ระดับของการตระหนักรู้อารมณ์ตน (2) ด้านการประเมินตนเองตามจริง นักเรียนได้แสดงพฤติกรรมบ่งชี้ทั้ง 4 ระดับของการประเมิวิธีนตนเองตามจริง (3) ด้านความมั่นใจในตนเอง นักเรียนได้แสดงพฤติกรรมบ่งชี้ใน 3 ระดับของความมั่นใจในตนเอง 2.2) เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตระหนักรู้ตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการตระหนักรู้ตนเอง ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตน ด้านการประเมินตนเองตามจริง และด้านความมั่นใจในตนเอง สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5358
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HatairatSrimala.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.