Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5284
Title: การพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานนำเข้าสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ดีดี 1971 จำกัด และเครือบริษัท
The Development of A Mobile Application For The Management of Imported Goods: A Study of DD 1971 Company Limited and Associate Companies
Authors: Nutthapong Sungson
ณัฐพงษ์ สังข์สอน
Paisarn Muneesawang
ไพศาล มุณีสว่าง
Naresuan University
Paisarn Muneesawang
ไพศาล มุณีสว่าง
paisarnmu@nu.ac.th
paisarnmu@nu.ac.th
Keywords: แอพลิเคชั่น
การนำเข้าสินค้า
โลจิสติกส์
Mobile Application
Import merchandises
Logistics
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this study were to develop a mobile application that will be a critical tool to support the operational management for imported merchandise in Thailand. The application was developed for a particular company in Thailand: DD 1971 Co. Ltd. and its associated companies. The purpose of this mobile application, which incorporates technological innovations, was to reduce the consolidation time of collecting information as well as allocating costs to specific imported goods. User satisfaction with the mobile application and its effectiveness in achieving the requirements was elicited and analyzed. The mobile application, which runs on a smart phone, thereby allowing Anywhere/AnyTime/AnyDevice operations, will enhance the import operations by reducing the time to gather importation costs and the costs of imported goods, as well as decreasing the overall time of processing business transactions. The success of the newly developed system, and the high level of user satisfaction found, will allow this system to be an exemplar for the development of other mobile applications in the future. The sample group of participants was comprised of 15 operators from DD 1971 Company Limited and 14 associated companies. The selection of the organizations and the operators was obtained by purposive sampling. The instruments used to collect data consisted of observations, interviews, online questionnaires, rating scale questionnaires, and open-ended questionnaires. The proficiency level calculated when using the application was at the most efficient level (mean = 4.73, S.D. = 0.43) and the level of user satisfaction from the surveyed population was at the highest level (mean = 4.59, S.D. = 0.55). Overall, the system achieved savings in operational time calculated as a reduction of 56.07% over the previous, manual, systems in use by the group of companies.
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานนำเข้าสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ดีดี 1971 จำกัด และเครือบริษัท มีวัตถุประสงค์คือการพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือเพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานนำเข้าสินค้า เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอพลิเคชั่นมือถือในด้านการดำเนินงานโดยนำเอานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการลดเวลาการรวบรวมค่าใช้จ่ายสำหรับการนำเข้าสินค้า และเพื่อประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อแอพลิเคชั่นมือถือ ผู้วิจัยคาดหวังว่าแอพลิเคชั่นมือถือที่พัฒนาขึ้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านลดระยะเวลาในการรวบรวมและประมวลผลค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของการนำเข้าสินค้า เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวก และท้ายที่สุดเป็นแนวทางในการพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือเพื่อการดำเนินการนำเข้าสินค้าสู่ประเทศไทยในอนาคต กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติการของ 15 องค์กรในเครือบริษัท ดีดี 1971 จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรด้านผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าและผู้ประกอบการด้านการจัดการขนส่งและโลจิสติกส์การเลือกสรรองค์กรและผู้ปฏิบัติการในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิดในส่วนของข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอื่น ๆ จากการพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือ และนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานนำเข้าสินค้า พบว่า ประสิทธิภาพของแอพลิเคชั่นโดยรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 4.73) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.43) มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวม (ค่าเฉลี่ย = 4.59) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.55) และช่วยลดเวลาในการดำเนินงานได้ร้อยละ 56.07
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5284
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NutthaponsSungson.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.