Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5282
Title: การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว ด้วยแนวคิดสำนึกแห่งถิ่นที่สำหรับนักท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญ
The Creation of Tourism Experience with the Concept of Sense of Place for Pilgrimage Tourists. 
Authors: Kittipit Kittipornpaiboon
กิตติพิชญ์ กิตติพรไพบูลย์
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
Naresuan University
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
siripend@nu.ac.th
siripend@nu.ac.th
Keywords: การท่องเที่ยวแสวงบุญ
ประสบการณ์การท่องเที่ยว
สำนึกแห่งถิ่นที่
นักท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญ
Pilgrimage Tourism
Tourism Experience
Sense of Place
Pilgrimage Tourists
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this study were 1) to study the characteristics of the Sense of place of places of worship and places of faith from the perspective of pilgrimage tourists; 2) to categorize the pilgrimage tourism experiences, and 3) to propose guidelines for creating tourism experiences with the concept sense of place for pilgrimage tourists. This study took a qualitative method based on in-depth interviews with 52 Thai pilgrimage tourists who are Buddhists, Christians, and Muslims and utilized thematic analysis together with an analytical conceptual framework to investigate the data. The findings revealed that 1) Sense of place comprised of two primary features, which were as follows: 1.1) A sense of therapeutic which consists of a sense of renewal, a sense of encouragement, and a sense of diversion 1.2) A sense of theoplacity which contains a sense of cultural theoplacity and a sense of spiritual theoplacity. 2) There are five traits of pilgrimage tourism experience categorized according to the level of experience: Novelty experience, Enrichment experience, Restorative experience, Numinous experience, and Awakening Experience. And the approach to creating pilgrimage tourism experiences, known as the VISA Model, is to determine the emotional value as a primary goal of visitation to the place. Following that, determine the place identity or perception of attributes associated with that emotional value. Finally, provide activities that are in accordance with the aims of the tourists. This research encourages the planning and development of pilgrimage tourism sites.    
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของสำนึกแห่งถิ่นที่ของศาสนสถานและศรัทธาสถานจากมุมมองของนักท่องเที่ยวแสวงบุญ 2) เพื่อจำแนกลักษณะประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวแสวงบุญ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วยแนวคิดสำนึกแห่งถิ่นที่สำหรับนักท่องเที่ยวแสวงบุญ การศึกษานี้เลือกใช้แนวทางการศึกษาเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มนักท่องเที่ยวแสวงบุญชาวไทยจำนวน 52 ราย ที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์และอิสลาม โดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระและผังมโนทัศน์เชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะของสำนึกแห่งถิ่นที่ประกอบด้วย 2 ลักษณะใหญ่ ได้แก่ 1.1)สำนึกแห่งการเยียวยา ประกอบด้วย สำนึกแห่งการฟื้นฟูจิตใจ สำนึกแห่งการเสริมสร้างกำลังใจ และสำนึกแห่งความเพลิดเพลินใจ 1.2) สำนึกแห่งความเดิมแท้ ประกอบด้วยสำนึกแห่งความเดิมแท้เชิงวัฒนธรรมและสำนึกแห่งความเดิมแท้เชิงจิตวิญญาณ 2) ลักษณะของประสบการณ์การท่องเที่ยวแสวงบุญ มี 5 ลักษณะไล่เรียงไปตามระดับของประสบการณ์ ได้แก่ ประสบการณ์แปลกใหม่ ประสบการณ์เสริมการเรียนรู้ ประสบการณ์แห่งการฟื้นคืนจิต ประสบการณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ และประสบการณ์ตื่นรู้ และแนวทางของการสร้างประสบการณ์โดยเรียกว่า VISA Model คือการกำหนดคุณค่าเชิงอารมณ์ที่พึงได้จากการมาเยือนสถานที่เป็นเป้าหมายหลัก หลังจากนั้นจึงกำหนดการรับรู้ถึงคุณลักษณะที่สอดคล้องกับคุณค่าเชิงอารมณ์นั้น และสุดท้ายคือการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายของนักท่องเที่ยว การศึกษานี้ช่วยส่งเสริมการวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแสวงบุญ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5282
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KttipitKittipornpaboon.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.