Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5203
Title: การวิเคราะห์ประโยชน์และต้นทุนส่วนเพิ่มของคาร์บอนเครดิตที่เหมาะสมสำหรับการลงทุน Solar Rooftop ของอาคารโรงงาน
An additional carbon credit benefit-cost analysis for Solar Rooftop Investment in Commercial Sector 
Authors: THITIPHAN TECHASITTINUN
ฐิติพันธ์ เตชะสิทธินันท์
Prapita Thanarak
ประพิธาริ์ ธนารักษ์
Naresuan University. School of Renewable Energy and Smart Grid Technology
Keywords: ระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคา
คาร์บอนเครดิต
การวิเคราะห์ผลประโยชน์-ต้นทุน
ภาคธุรกิจ
หลังมิเตอร์
Solar rooftop
Carbon Credit
Benefit-Cost Analysis
Commercial Sector
Behind-the-Meter
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The trend of installing solar rooftop systems in large and medium-sized in the commercial sector is likely to be installed relatively high. Because of the reduced investment value and energy savings can be seen as tangible. Also, the payback period is not more than five years. Currently, there are many forms of investment, such as being self-employed and requesting a loan from an investment bank. Besides, there is also a campaign for the public and private sectors to participate in voluntary domestic greenhouse gas reduction by generating electricity from renewable energy. This paper presents a benefit and marginal cost analysis of suitable carbon credit for a Solar Rooftop investment of a factory building with a solar rooftop of 500 kWp, 750 kWp, and 1,000 kWp using the cost-benefit analysis to define the Carbon Credit that is suitable for investment. Analysis results showed that all three sizes, installation capacity, are well worth the investment at the current carbon credit trading price. Solar Rooftop installation capacity of more than 750 kWp will have a payback period of 5.30 years (if the purchase price of carbon credits is 100 baht per ton of carbon dioxide), equal to the normal operation without carbon credit. The analysis results showed empirical evidence that, in addition to operating carbon credit, it would not increase the investment burden on operators. It can also promote a reduction in greenhouse gas emissions and be more competitive with greenhouse gas measures as an important mechanism
แนวโน้มการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ในกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางมีแนวโน้มการติดตั้งค่อนข้างสูง เพราะมูลค่าการลงทุนที่ลดลง การประหยัดพลังงานที่เห็นผลเป็นรูปธรรม และระยะเวลาการคืนทุนไม่เกิน 5 ปี โดยปัจจุบันมีการลงทุนหลายรูปแบบ เช่น ใช้เงินลงทุนเอง ขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการลงทุน การลงทุนจากภาคเอกชนด้วยกันเอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจด้วยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ประโยชน์และต้นทุนส่วนเพิ่มของคาร์บอนเครดิตที่เหมาะสมสำหรับการลงทุน Solar Rooftop ของอาคารโรงงานที่มีขนาดกำลังการติดตั้ง Solar Rooftop 500 kWp, 750 kWp และ 1,000 kWp โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) ของคาร์บอนเครดิตที่เหมาะสมสำหรับการลงทุน ผลการวิเคราะห์ พบว่า ณ ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตปัจจุบัน ทั้งสามขนาดกำลังการติดตั้งมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดย ขนาดกำลังการติดตั้ง Solar Rooftop มากกว่า 750 kWp จะมีระยะเวลาการคืนทุนที่ 5.30 ปี (หากราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 100 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์) เท่ากับการดำเนินการปกติที่ไม่ดำเนินการคาร์บอนเครดิต ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ว่านอกจากการดำเนินการคาร์บอนเครดิตจะไม่เป็นการเพิ่มภาระการลงทุนให้กับผู้ประกอบการแล้ว ยังสามารถส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีแนวโน้มต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่มีมาตรการด้านก๊าซเรือนกระจกเป็นกลไกสำคัญต่อไปด้วย
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5203
Appears in Collections:วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62064031.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.