Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5191
Title: การศึกษาแคลเซียมคลอไรด์ที่มีผลต่อการต้านฤทธิ์ของเม็ดอนุภาคเงินนาโนที่เคลือบผิวด้วยสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงต่อเชื้อแอคกริเกติแบคเตอร์ แอคติโนมัยซีเทมคอมิแทนส์
The Study of Calcium Chloride effect on Silver Nanoparticles capping with Roselle extract granule against Aggregatibactor actinomycetemcomitans 
Authors: THANAPHOOM CHAIWONG
ธนภูมิ ไชยวงศ์
Sirorat Wacharanad
ศิโรรัช วัชรานาถ
Naresuan University. Faculty of Dentistry
Keywords: อนุภาคเงินนาโน
กระเจี๊ยบแดง
แคลเซียมคลอไรด์
Silver nanoparticles
Roselle
Calcium chloride
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this study is to evaluate the effect of calcium chloride on the production of silver nanoparticles capped with Roselle extract and calcium chloride bead (SNP-Ro-CaCl2 bead), the release of silver nanoparticles (SNP) from SNP-Ro-CaCl2 bead and the antimicrobial activity of SNP-Ro-CaCl2 bead. For SNP-Ro-CaCl2 beads preparation, silver nanoparticles and alginate gel were mixed, followed by dropping in three different concentrations of calcium chloride (CaCl2) solution (1, 3 and 5% w/v). The morphological structure of SNP-Ro-CaCl2 beads was analyzed by Stereoscope and Scanning electron microscope (SEM). The release of SNP was monitored at 24 h using an UV-Vis spectrophotometer. The antimicrobial activity against Aggregatibacter actinomycetemcomitans was tested by disk diffusion technique. The results showed that the calcium chloride concentration had a different crosslinking effect on the alginate leading to different voids and porosity of the SNP-Ro-CaCl2 beads. The inner element of SNP-Ro-1% CaCl2 bead had a highest porosity, resulting in rapid and more release of SNP-Ro. Corresponding to the antibacterial activity against Aggregatibactors actinomycetemcomitans at 24h, SNP-Ro-1% CaCl2 bead produced the largest inhibition zone diameter with a significant difference (P<0.05) than the other two CaCl2 concentrations bead. While the SNP-Ro-3% CaCl2 bead showed better SNP-Ro release efficiency than the SNP-Ro-5% CaCl2 bead, but the inhibition zone diameters of these two types of beads showed no statistically significant (P>0.05). In addition, in the lifetime testing of all three CaCl2 concentration beads, antimicrobial efficacy was found to decline after 17 days. The results suggested that the SNP-Ro-CaCl2 bead has the potential to be developed as an adjunctive locally delivered antimicrobial agent in periodontal therapy. 
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของแคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride, CaCl2) ต่อการขึ้นรูปเม็ดอนุภาคเงินนาโนที่เคลือบผิวด้วยสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงและแคลเซียมคลอไรด์ (SNP-Ro-CaCl2 bead) รวมถึงศึกษาการปลดปล่อยอนุภาคเงินนาโนจาก SNP-Ro-CaCl2 bead และประสิทธิภาพในการต้านฤทธิ์แบคทีเรียของ SNP-Ro-CaCl2 bead เม็ดอนุภาคเงินนาโนที่เคลือบผิวด้วยสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดง สังเคราะห์ได้จากการผสมอนุภาคเงินนาโน กับสารละลายอัลจิเนต (Alginate) จากนั้นนำไปหยดลงในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 1%, 3% และ5% w/v เม็ดอนุภาคเงินนาโนที่สังเคราะห์ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ โดยการวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่องลักษณะพื้นผิวด้วยการใช้กล้องดูภาพสามมิติ (Stereoscope) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope, SEM) จากนั้นนำ SNP-Ro-CaCl2 bead ที่ได้ไปศึกษาการปลดปล่อยอนุภาคเงินนาโนในเวลา 24 ชั่วโมงทดสอบโดยใช้ UV-Vis spectrophotometer และนำไปทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ (Aggregatibacter actinomycetemcomitans) ด้วยวิธีดิสก์ ดิฟฟิวชั่น (Disk diffusion technique) ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของแคลเซียมคลอไรด์ มีผลต่อการเชื่อมขวางกับอัลจิเนต  โดยทำให้เกิดช่องว่างและรูพรุนที่แตกต่างกันภายใน SNP-Ro-CaCl2 bead จึงส่งผลต่อการควบคุมการปลดปล่อยอนุภาคเงินนาโน องค์ประกอบภายใน SNP-Ro-1% CaCl2 bead มีรูพรุนมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพการปลดปล่อย SNP-Ro ได้เร็วและปริมาณมากที่สุด สอดคล้องกับฤทธิ์การต้านเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ ที่เวลา 24 ชั่วโมง SNP-Ro-1% CaCl2 bead ทำให้เกิดเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณที่ไม่มีเชื้อเจริญมากกว่าเม็ดอนุภาคเงินนาโนที่มีแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ SNP-Ro-3% CaCl2 bead พบว่า มีการปลดปล่อยอนุภาคเงินนาโนมากกว่า SNP-Ro-5% CaCl2 bead แต่เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ เม็ดอนุภาคเงินนาโนที่มีแคลเซียมคลอไรด์ทั้งสองความเข้มข้นนี้ ทำให้เกิดเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณที่ไม่มีเชื้อเจริญ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้ เมื่อทำการทดสอบอายุการใช้งานของ SNP-Ro-CaCl2 bead ทั้งสามชนิด พบว่า ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 17 วัน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงศักยภาพในการนำเม็ดอนุภาคเงินนาโนที่มีแคลเซียมคลอไรด์เป็นส่วนประกอบมาใช้เป็นสารต้านจุลชีพเฉพาะที่ชนิดใหม่สำหรับเสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบได้
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5191
Appears in Collections:คณะทันตแพทยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThanaphoomChaiwong.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.