Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5179
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
FACTORS AFFECTING PHYSICAL ACTIVITY AMONG OLDER ADULTS IN PHITSANULOK MUNICIPALITY, PHITSANULOK PROVINCE
Authors: SURAWIT RUNGSAWANG
สุรวิชญ์ รุ่งสว่าง
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: กิจกรรมทางกาย
ผู้สูงอายุ
physical activity
older adults
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This cross-sectional analytical study aimed to study the factors affecting the physical activity of the older adult in Phitsanulok Municipality. The sample group was 436 older people aged 60 years and over, obtained from multistage sampling. Data were collected from a self-contained questionnaire. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested by using multiple regression analysis statistics. The results showed that most of the older adults had physical activity behavior at a moderate level (59.90%). Factors affecting physical activity behaviors of the older adults with statistically significance at the 0.05 level were: marital status (b = 1.557), knowledge of physical activities (b = -0.795), self-awareness (b = 0.877), family support (b = 0.444) and education level (b = 0.827). These factors could predict the physical activity behavior of the older adults by 51% (Adjusted R2 = 0.510, P-value < 0.001). The findings suggested that the physical activity promotion program for the adults should have a variety of activities and consider fundamental factors such as education level, knowledge and self-efficacy. In addition, the older adult 's families should be encouraged to participate in activities in order to encourage them to have sufficient and continuous physical activity.
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 436 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 59.90 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สถานภาพสมรส (b = 1.557) ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย (b = -0.795) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (b = 0.877) แรงสนับสนุนจากครอบครัว (b = 0.444) และระดับการศึกษา (b = 0.827) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 51 (Adjusted R2 = 0.510, P-value < 0.001) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การจัดโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุควรมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย โดยคำนึงปัจจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น ระดับการศึกษา ความรู้และการรับรู้ความสามารถของผู้สูงอายุแต่ละคน นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมให้ครอบครัวของผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ และเกิดต่อเนื่อง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5179
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63062883.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.