Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5162
Title: รูปแบบการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
A model of stress management among Tai Lue aging people in Nan Province by Participation of Network Partners
Authors: PORNPAVEE KHAMLUANG
พรปวีณ์ คำหลวง
Supaporn Sudnongbua
สุภาภรณ์ สุดหนองบัว
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การจัดการความเครียด, ผู้สูงอายุ, กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ
stress management elderly Tai Lue ethnic group
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study involved mixed-method research. The purpose of this research was to study the stress management model of elderly members of the Tai Lue ethnic group in Nan province, Thailand, by the participation of network partners. The research is divided into four phases, consisting of qualitative research and quantitative research. Phase 1 studied stressful situations, the causes, and factors that cause stress among elderly members of the Tai Lue ethnic group in Nan province Phase 1 involved qualitative research using in-depth interviews with a sample of 12 people. Phase 2 then studied the factors affecting stress among elderly members of the Tai Lue ethnic group This was a quantitative cross-sectional survey of 334 people. Phase 3 investigated the development of stress management guidelines among the elderly in the Tai Lue ethnic group and was a qualitative research study involving group discussions with 24 people. Meanwhile, management stress among elderly members of the Tai Lue ethnic group was studied through quasi-experimental research with a sample of 45 people. The qualitative data collected through in-depth interviews suggested five factors of stress among elderly members of the Tai Lue ethnic group, including personal, physical, psychological, family, and environmental factors. Additionally, health literacy variables were newly discovered variables from the qualitative and quantitative data collection, which revealed that elderly members of the Tai Lue ethnic group had high levels of stress, for which four predictive variables were found, including psychological (beta=0.298), social support (beta=-0.140), income (beta=0.121), and gender (beata=-0.102). Moreover, mental health and income factors are found to positive affect stress, while social support and gender factors negatively affect stress among the elderly. Qualitative data was collected through group discussions to create a stress management model among the elderly in the Tai Lue ethnic group, from which 12 activities were identified and divided into knowledge education, mental development, and physical development categories. The stress management model was tested with a quasi-experimental trial, which found that social support was able to effectively manage and reduce stress from high to medium levels. Stress management models for use with the elderly should be continually developed, in line with contextual social changes. The stress management model developed with elderly members of the Tai Lue ethnic group in Nan province, Thailand, can be applied by organizations that work with the elderly, including public health departments, sub-district administrative organizations, and related agencies for the integration of mental and physical health promotion among the elderly in all health dimensions.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยงานวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความเครียด สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน ระยะที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 334 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน  โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสนทนากลุ่ม จำนวน 24 คน และระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการความเครียด ในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน  ผลการวิจัยพบว่า จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านร่างกาย ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวแปรความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นตัวแปรที่ค้นพบใหม่จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ มีความเครียดอยู่ในระดับสูง โดยพบตัวแปรร่วมทำนาย ทั้งหมด 4 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตใจ (beta=0.298) ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม (beta=-0.140) ปัจจัยด้านรายได้ (beta=0.121) และปัจจัยด้านเพศ (beta=-0.102) มีผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุ โดยปัจจัยด้านจิตใจและปัจจัยด้านรายได้มีผลทางบวกต่อการเกิดความเครียด และปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านเพศ มีผลทางลบต่อการเกิดความเครียดในผู้สูงอายุ จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม สร้างรูปแบบการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 12 กิจกรรม แบ่งเป็นการให้ความรู้ การพัฒนาจิตและการพัฒนากาย การให้แรงสนับสนุนทางสังคม จากการนำรูปแบบการจัดการความเครียดไปทดลองใช้ โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง พบว่า สามารถจัดการความเครียดในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี โดยผู้สูงอายุมีคะแนนค่าเฉลี่ยความเครียดลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากความเครียดในระดับสูง ลงมาที่ระดับปานกลาง แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม รูปแบบการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในหน่วยงานด้านสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบูรณาการการส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกายในผู้สูงอายุให้ครบทุกมิติสุขภาพ  
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5162
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62030098.pdf14.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.