Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5156
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Factors affecting self-protection behaviors from pesticide among Tangerine orchard farmers in Si Satchanalai District , Sukhothai Province
Authors: WARAPORN CHAICHANA
วราภรณ์ ไชยชะนะ
Civilaiz Wanaratwichit
ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ปัจจัยที่มีอิทธิพล
พฤติกรรมการป้องกันตนเอง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน
Self efficacy
Self-protection
Behaviors
Tangerine orchard farmers
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was a cross-sectional descriptive study. To study the factors influencing self-protection behavior from using chemical pesticides. Pests of tangerine orchard farmers  Si Satchanalai District Sukhothai The sample group was 391 sweet orange orchard farmers. Research tools. research tool questionnaire It's a structured interview. Data were analyzed using descriptive statistics. and stepwise multiple regression analysis The results of the research found that most of the samples had self-defense behaviors from pesticide use of tangerine orchard farmers at a moderate level of 82.6%. Factors influencing self-protection behavior from pesticide use of tangerine orchard farmers were attitudes about pesticide use. Support from agricultural officials The status of living with a partner and access to a supply of self-protection equipment Participation in predicting self-defense behavior from pesticide use of tangerine orchard farmers was 18.2 percent with statistical significance at the p < .05 level.  The results of the study can be applied as a guideline for solving problems in the form of project preparation or a model to encourage farmers to develop behaviors to protect themselves from the use of pesticides. Both before use, during use and after using chemicals for the community, especially the academic knowledge that should be obtained from the agricultural authorities. together with public health agencies and network partners in the area to integrate and solve problems together in a sustainable manner.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาพตัดขวาง (Cross-section studie) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรสวนส้มขียวหวาน จำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)   ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 82.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แรงสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร  สถานภาพสมรสและการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันตนเอง มีส่วนร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวานได้ร้อยละ 18.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  p < .05 ผลที่ได้จากการศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบการจัดทำโครงการ หรือรูปแบบการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งในก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลังใช้สารเคมี ให้กับชุมชน โดยเฉพาะความรู้ทางวิชาการที่ควรได้รับจากเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5156
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60062466.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.