Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5150
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
DEVELOPING A TOOL FOR ASSESSING FOOD AND NUTRITION LITERACY AMONG SECONDARY SCHOOL STUDENT
Authors: Kingkaew Samruayruen
กิ่งแก้ว สำรวยรื่น
Nithra Kitreerawutiwong
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การพัฒนาเครื่องมือ
ความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
การวิจัยแบบผสมผสาน
Developing a tool for assessing
Food and nutrition literacy
Secondary school student
Mixed methodology research
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The attention on the role of nutrition in the etiology of chronic diseases isprogressive increase. The early adolescent is in the age-group of transition in dietary patterns by increasing independence and autonomy. Healthy dietary intake is essential. However, the instrument to assess food and nutrition literary  (FANLit) in this population is scare. This research aimed to explore the definition and attributes of FANLit and develop an instrument to assess FANLit among secondary school student. The exploratory sequential mixed methods design of the instrument development model was employed. First, in-depth interview and focus group discussion of 49 participants was conducted. Data were analyzed by thematic analysis, obtained of FANLit 2 components then the questionnaire item of 114 items was generated. The second step, the content validity was assessed by 7 experts with the improvement of the items, remained 110 items. The face validity was conducted in the 10 participants of secondary school student with the revision of the items, yield 108 items. The pilot test was undertaken in the sample of 30 participants that are in the different group of the validity test. The items with corrected item- total correlation lower than 0.30 were deleted, attained 107 items. The items regarding knowledge confirmed by calculating KR-20 and the items in relation to the skills of FANLit evaluating Cronbach’s Alpha. Then the instrument was employed in the large sample size of 1,284 participants in secondary school student in Sukhothai Province. Exploratory factor analysis with varimax rotation and confirmatory factor analysis was evaluated. The findings show that 107 items were developed with the S-CVI/UA=0.965 which confirmed the acceptable of content validity. The reliability of knowledge items yielded the value of KR-20 = 0.916 while the FANLit skills, obtained Cronbach’s Alpha = 0.794-0.865. The exploratory factor analysis reported that it was constructed of 7 components including 1) food and nutrition knowledge, 2) food selection skills, 3) food preparation and eating cooked food skills, 4) food planning and managing food skills, 5) communication and sharing regarding food and nutrition skills, 6) evaluation and selection of food and nutrition information skills, and 7) food decision and administration of healthy food budget. On the results of confirmatory factor analysis, the fit indices of the model had acceptable fit with the value of GFI = 0.980, CFI = 1.000, RMSEA = 0.006, c2/df = 1.041, SRMR = 0.032, p-value =0.20082 and the KR-20= 0.780, Cronbach’s Alpha= 0.806-0.917 which confirmed the internal consistency of the questionnaire in the scale and subscale.  The development of FANLit is a valid and reliable tool to assess FANLit in the secondary school student. The results will be used to be the evidence for designing the interventions to promote FANLit in the early adolescent group.
การให้ความสำคัญกับภาวะโภชนาการ ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเรื้อรังมีความสำคัญมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้วัยรุ่นตอนต้น เป็นช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนผ่านของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นอิสระและสามารถตัดสินในได้ด้วยตัวเอง การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามเครื่องมือในการประเมินความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ในกลุ่มประชากรนี้ ของประเทศไทย ยังมีน้อย การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความหมายและองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และพัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพในการประเมินความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงสำรวจ รูปแบบย่อยแบบการพัฒนาเครื่องมือ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ขั้นตอนแรก เก็บข้อมูลด้วยการการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 49 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สาระสำคัญ ได้ความหมายความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 2 องค์ประกอบ หลังจากนั้นพัฒนาเป็นแบบสอบถามที่มีข้อคำถาม 114 ข้อ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ จากความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ทำการปรับแก้ไขข้อคำถามเหลือ จำนวน 110 ข้อ ตรวจสอบความตรงแบบเผชิญหน้า ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 10 คน ปรับปรุงข้อคำถาม เหลือ จำนวน 108 ข้อ นำเครื่องมือไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 30 คน ที่เป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มตรวจสอบความตรง ตัดข้อคำถามที่มีค่า Corrected item- total correlation ต่ำกว่า 0.3 ออก เหลือ จำนวน 107 ข้อ ข้อคำถามเกี่ยวกับความรู้ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 และข้อคำถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเกี่ยวกับทักษะใช้ค่า Cronbach’s Alpha ต่อมานำเครื่องมือไปทดสอบคุณสมบัติในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1,284 คน วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ใช้วิธีองค์ประกอบร่วมหมุนแกนด้วยวิธี Varimax และองค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษา พบว่า ข้อคำถามจำนวน 107 ข้อ ได้รับการพัฒนา มีค่า S-CVI/UA=0.965 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีค่าความตรงเชิงเนื้อหาที่ยอมรับได้ ค่าความเชื่อมั่นของ ข้อคำถามเกี่ยวกับความรู้ ได้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.916 ส่วนข้อคำถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการเกี่ยวกับทักษะได้ค่า Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.794-0.865 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า ได้ข้อคำถาม จำนวน 61 ข้อ จาก 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความรู้และทักษะ โดยแบ่งเป็น จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ 2) ทักษะความสามารถในการเลือกอาหาร 3) การเตรียมและรับประทานอาหารปรุงสุก 4) การวางแผนและจัดการเกี่ยวกับอาหาร 5) การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ 6) การประเมินผลและเลือกใช้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ และ 7) การตัดสินใจและบริหารงบประมาณเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งทุกด้านอธิบายค่าความแปรปรวนได้ 52.622 % และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ดังนี้ GFI = 0.980, CFI = 1.000, RMSEA = 0.006, c2/df = 1.041, SRMR = 0.032 และ p-value =0.20082 พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20= 0.780, Cronbach’s Alpha= 0.806-0.917 ซึ่งยืนยันความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามทั้งภาพรวมและรายด้าน การพัฒนาเครื่องมือนี้ มีความตรงและความน่าเชื่อถือ สำหรับการประเมินความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการนำไปออกแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5150
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030275.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.