Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5083
Title: การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Phenomenon-based learning management to develop critical thinking and problem solving skills On the phenomenon of the world and natural disasters of grade 6 students
Authors: SUCHANAN WORAWATTANANON
สุชานันท์ วรวัฒนานนท์
Skonchai Chanunan
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน
critical thinking and problem-solving skills
Phenomenon-based learning
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to: 1. investigate the characteristics of Phenomenon-based learning, which can improve students' critical thinking and problem-solving skills in the topic of Global Phenomena and Natural Disasters for students in Primary 6, and 2. study the results of implementing Phenomenon-based learning activities on students' critical thinking and problem-solving skills. The sample group consisted of 30 Primary 6 students. This study used three cycles of action research. The research instruments included lesson plans for Phenomenon-based learning activities on students' critical thinking and problem-solving skills, forms of reflective writing, critical thinking and problem-solving skills assessments, and activity sheets. Content analysis and percentage are used in data analysis were mean, standard deviation The findings revealed that: 1) The following characteristics of Phenomenon-based learning activities on students' critical thinking and problem-solving skills consisted of: 1.1) teachers should select phenomena or situations that students are exposed to in order to get a better understanding of those situations. 1.2) Technology should be incorporated into classroom activities to encourage students to successfully use technology tools. 1.3) Situations should be related to phenomena that students are exposed to in order for them to understand and connect to the main phenomenon's explanation. 1.4) Collaboration should be focused on learning activities to encourage students to share their knowledge, analyze, interpret, summarize data, and evaluate different ideas through discussion with other students. 2) The results of implementing Phenomenon-based learning activities on the critical thinking and problem-solving skills of Primary 6 students show that the overall level of students' critical thinking and problem-solving skills increased from 49.75 percent to 81.25 percent. In terms of effective reasoning, critical thinking and decision making, and problem solving were at a good level. On the other hand, systematic thinking was at an intermediate level.
            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานในการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ร่วมวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา แบบบันทึกการสะท้อนผล แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และใบกิจกรรม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาควรมีลักษณะ ดังนี้ 1.1) ครูควรเลือกปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ตัวอย่างที่ใกล้ตัวนักเรียน นึกถึงบริบทของนักเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ ในสถานการณ์นั้นๆ 1.2) มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือ 1.3) สถานการณ์ตัวอย่าง ควรจะมีความสอดคล้องกับปรากฏการณ์ ที่ให้นักเรียนศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจและเชื่อมโยง ซึ่งจะนำไปสู่การอธิบายต่อปรากฏการณ์หลักได้ 1.4) เน้นรูปแบบการทำงานกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ และสามารถ วิเคราะห์ และประเมินจากมุมมองที่หลากหลายจากการอภิปรายร่วมกันภายในกลุ่ม ไปใช้ตีความข้อมูล และการสรุปจากการวิเคราะห์ จึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) ผลของการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน พบว่า ในภาพรวมสูงขึ้นจากร้อยละ 49.75 เป็น 81.25 (ระดับน้อยเป็นระดับมาก) และมีระดับทักษะในแต่ละองค์ประกอบเป็นดังนี้ ด้านการให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจ  และด้านการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านใช้การคิดอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับปานกลาง
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5083
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090985.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.