Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5060
Title: รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก
Learning management model by social problems based to develop social intelligence of senior high school students in Phitsanulok Province
Authors: Khachon Buasri
ขชล บัวศรี
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐาน, ความฉลาดทางสังคม, ปัญหาสังคมเป็นฐาน
Learning management model by social problems based social intelligence social problems based
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This qualitative research is about the learning management model using social problems to develop the social intelligence of senior high school students in Phitsanulok Province. This study aims to examine the learning management models in Social Studies, religion, and culture to develop the social intelligence of this generation’s learners and a learning management model using social problems as a base for social intelligence development. Data were gathered by interviewing Social Studies teachers, medical personnel, psychologist, and 17 Mathayomsuksa 5 students of Noensa-ad Wittayakom School. Research tools include interview questionnaires and teachers’ manual. Content analysis was used to analyze the qualitative data obtained from the study to classify specified issues. Triangulation approach was used to test the validity and reliability of the collected data. Results revealed that the current curriculum has no definitive course on social intelligence development, very few lessons regarding social problems were found, and there are no clear guidelines on measuring and evaluating the students’ social intelligence. The researcher examined the effective learning management guidelines consisting of five components: 1) curriculum, 2) learning management, 3) measurement of learning, 4) learning evaluation, and 5) learning environment and atmosphere. The guidelines mentioned above were applied to develop a learning management model using social problems as a base to develop social intelligence. An A4 format learning management model was developed, which includes A1) Identifying the problem, A2) Analyzing the problem, A3) Acceptance, and A4) Behavioral change. This model led to the development of the learners’ five aspects of social intelligence: 1) situational awareness, 2) expression, 3) sincerity, 4) clarity, and 5) compassion. Based on this study’s results, the learners have shown higher social intelligence such as; behaving appropriately according to the situation, expressing themselves to build friendships, using appropriate words to convince friends to organize an busking event as an extension of learning, helping other students whose homes were affected by fire, happily volunteering to Kon Dee Sri Song Khwae Project of Phitsanulok Province to contribute in building a public mind to help others in the society, and helping their mathayom 5 classmates to build a toilet.        
งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐานเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้เรียนในปัจจุบันและเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐานเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ใช้วิธีการวิจัยผ่านการสัมภาษณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนสังคม บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรด้านจิตวิทยา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์บุคลากรครู บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรทางด้านจิตวิทยา คู่มือครู มีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป และการวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผ่านนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาจำแนกประเด็นตามที่กำหนด ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่าปัจจุบันของการจัดการเรียนด้านหลักสูตร ยังไม่มีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความฉลาดทางสังคมที่แน่ชัด การสอนโดยใช้ปัญหาสังคมยังมีน้อย ยังไม่มีแนวทางการวัดและประเมินผลด้านความฉลาดทางสังคมที่ชัดเจน สิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวทางในการประกอบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดผลการเรียนรู้ 4) ด้านประเมินผลการเรียนรู้  5) ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ และนำแนวทางดังกล่าวไปพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐานเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  รูปแบบ A4  ดังนี้ A 1 – Assigning problems  การให้โจทย์ปัญหา  A 2 – Analyzing problems วิเคราะห์ปัญหา A 3 - Accepting ยอมรับพฤติกรรม  A 4 – Actioning พฤติกรรมสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) การรู้สถานการณ์ 2) การแสดงออก 3) ความจริงใจ   4) ความชัดเจน 5) ความเห็นอกเห็นใจ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ผู้เรียนเกิดความฉลาดทางสังคมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยผู้เรียนปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ แสดงออกในสร้างมิตรภาพ คำพูดมีความน่าเชื่อถือ และโน้มน้าวเพื่อนได้ จนสามารถต่อยอดการเรียนรู้สู่การจัดกิจกรรมร้องเพลงเปิดหมวก ช่วยเหลือบ้านนักเรียนประสบอัคคีภัยและกิจกรรมกล้าอาสาปันรอยยิ้ม โครงการคนดีศรีสองแควของจังหวัดพิษณุโลก เพื่อร่วมสร้างจิตสาธารณะ ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมและร่วมกันสร้างห้องน้ำให้กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5060
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63061466.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.