Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5053
Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Implementing Problem Based Learning to improve system thinking of grade 11 students in climate change 
Authors: WANLAOR TANGSUKH
วรรณละออ ตังสุข
Suriya Chapoo
สุริยา ชาปู่
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การคิดอย่างเป็นระบบ ปัญหาเป็นฐาน วิจัยเชิงปฏิบัติการ
System Thinking Problem-Based Learning Action Research
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Today, System thinking is the foundation that encourages students to confront complex problems in globalization. Students were trained for looking at the big picture of issues. The issues were identified and detailed, as well as the elements of the issues were considered and classified into causes and outcomes and their relationships, then lead to solving problems at the point. It also helps students to communicate with others to understand. The aims of this study were: 1) to study instructional learning on a problem-based model in climate change, and 2) to study developing system thinking of grade 11th students on climate change by implementing problem-based learning. The participants of this study were 32 students of grade 11th students who were in the Science Math Technology and Environment program (SMTE) at the southeast of Thailand province. This study was conducted in the second semester of the academic year 2020. The research methodology was action research that was divided into four-part including plan, act, observe and reflect and run three cycles. The instrument used were lesson plans, the reflections of instructional learning, student sheets, and a system thinking test. The data were analyzed by content analysis. The results were as follows: 1) the study of instructional learning to develop a learning guideline on problem-based learning in climate change should present a variety of issues that students could connect and encounter in their daily lives. Despite organized learning stages to help students to learn through exploring and discovering by themselves, a teacher should be guidance and facilitator one step at a time. The stages of problem-based learning consisted of elements to aid system thinking and interdisciplinary corresponding to climate change contents that currently affect every dimension and everyone as well. Students should be advised to know the vocabulary found in the issues. They were allowed to understand the problems leading to research and apply knowledge for a solution that was appropriate for the given situation as assigned. They were allowed to understand the problems leading to research and apply knowledge for a solution that was appropriate for the given situation as assigned. They were allowed to understand the problems leading to research and apply knowledge for a solution that was appropriate for the given situation as assigned. Also, they were encouraged to express their ideas through their work and collective discussion in the classroom, and 2) grade 11th students' system thinking was improved very well on climate change through implementing problem-based learning.
การคิดอย่างเป็นระบบเป็นพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน นักเรียนจะได้ฝึกการมองภาพรวมของสถานการณ์ปัญหา จำแนกแยกแยะองค์ประกอบของปัญหาออกเป็นสาเหตุและผลลัพธ์ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2) เพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 32 คน การวิจัยนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรมของนักเรียน และแบบทดสอบการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ครูควรนำเสนอสถาการณ์ปัญหาที่หลากหลายที่นักเรียนมีโอกาสพบได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เห็นมุมมองหลากหลายและอยู่ใกล้ตัวซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ครูจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดเรียนรู้ เนื่องจากในปัจจุบันเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกคนในทุกมิติ และครูควรแนะนำให้นักเรียนได้ทำความรู้เข้าใจคำศัพท์ที่พบในสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจปัญหาจนนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าและนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือหาวิธีรับมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตามที่นักเรียนได้รับมอบหมาย ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนได้นำเสนอความคิดผ่านผลงาน และครูควรกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในระดับดีมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5053
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062624.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.