Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5037
Title: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Causal Relationship Model of the Whole School Approach in the Office of the Basic Education Commission
Authors: ATTAPONG INTAWONG
อรรถพงษ์ อินต๊ะวงศ์
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Whole School Approach
The Causal Relationship
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the Causal Relationship Model 2) to examine the Causal Relationship Model 3) to study the Lesson Learned and specify the guidelines for the Whole School Approach of Schools. Sample group was administrators and the teachers 560 people from the Whole School Approach. Using research and development methodology and data were analyzed by Mplus.The research results were found as follows: 1. The Causal Relationship Model for the Whole School Approach of Schools in the Office of the Basic Education Commission was consisted of 7latent variables 28observe variables and 63 indicators as 1) Professional Learning Network (PLN): 4 observe variables and 10 indicators 2) School Management (Man): 5 observe variables and 11indicators 3) Learning Management and Student Development (LD): 5 observe variables and 14 indicators 4) Self Development School (WSAS): 5 observe variables and 13 indicators 5) Professional Teacher (WSAT): 4 observe variables and 4 indicators 6) Learning Network (WSAN) : 2 observe variables and 2 indicators 7) Quality Students (WSAQ): 3 observe variables and 9 indicators.The result of the linear structural correlation analysis of the Causal Relationship Model for the Whole School Approach of Schools in the Office of the Basic Education Commission consistented with empirical data. Model fit information found that chi-square was 169.058 at the significance level p=.2416 at the degree of freedom (df) of 157 which was statistically insignificant at the .05 level. The Relative Harmony Index (CFI) was .999. The Model Acceptance Index (TLI) was .998. The index of error in parameter estimation (RMSEA) is 0.012. The root index of the squared mean of the remainder In the form of a standard score (SRMR) of .022. 2. The guidelines of the Whole School Approach in the Office of the Basic Education Commission were as specify Professional Learning Network (PLN) to support School Management (Man), Learning Management and Student Development (LD) that encourage to Self Development School (WSAS), Professional Teacher (WSAT) and Learning Network (WSAN) that effecting to Quality Students.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ จำนวน 560 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประกอบด้วย  7  องค์ประกอบ  28  ตัวแปรสังเกตได้  และ 63 ตัวชี้วัด  ดังนี้  1) เครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLN)  มี 4 ตัวแปรสังเกตได้ 10 ตัวชี้วัด 2) การบริหารจัดการสถานศึกษา (Man) มี 5 ตัวแปรสังเกตได้ 11 ตัวชี้วัด 3) การจัดการเรียนรู้และการพัฒนานักเรียน (LD)  มี 5 ตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัวชี้วัด 4) โรงเรียนพัฒนาตนเอง (WSAS)  มี 5 ตัวแปรสังเกตได้ 13 ตัวชี้วัด 5) ครูมืออาชีพ (WSAT)  มี 4 ตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวชี้วัด 6)  เครือข่ายการเรียนรู้  (WSAN)  มี 2 ตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวชี้วัด 7)  นักเรียนคุณภาพ  (WSAQ)  มี 3 ตัวแปรสังเกตได้ 9 ตัวชี้วัด โดยผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบ ประกอบด้วย ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 169.058 ที่ระดับนัยสำคัญ p=.2416 ที่องศาความเป็นอิสระ (df) เท่ากับ 157 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ (CFI) เท่ากับ .999 ดัชนีที่แสดงการยอมรับของโมเดล (TLI) เท่ากับ .998 และดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.012 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือ ในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .022 2. ผลการนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลต่อนักเรียนคุณภาพ (WSAQ) ได้แก่ กำหนดเครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLN) เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา (Man) การจัดการเรียนรู้และการพัฒนานักเรียน (LD) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรงเรียนพัฒนาตนเอง (WSAS) ครูมืออาชีพ (WSAT) และเครือข่ายการเรียนรู้ (WSAN) ซึ่งจะส่งผลต่อนักเรียนคุณภาพ (WSAQ)
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5037
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031393.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.