Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5033
Title: การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับ แนวคิดการเสริมต่อความรู้
THE DEVELOPMENT OF A MODEL FOR ENHANCING TEACHERS COMPETENCY IN SCIENCE LEARNING MANAGEMENT WITH CREATIVITY AND PRODUCTIVITY BASED USING CONSTRUCTIONISM THEORY TOGETHER WITH SCAFFOLDING APPROACH
Authors: WATCHARAPONG NOTANA
วัชรพงค์ โนทะนะ
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ
การสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงาน
การเสริมต่อความรู้
A model for enhancing teachers’ competency
Science learning management
Learning management with creativity and productivity
Constructionism
Scaffolding
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to develop a model for enhancing teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity based on using constructionism theory together with scaffolding approach. There were 4 research steps. Step 1 was studying information about competency and approaches to enhance teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity. Step 2 was creating and examining the quality of the model for enhancing teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity based on using constructionism together with scaffolding approach. Step 3 was studying the results of using this model. Step 4 was evaluating the model for enhancing teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity based on using constructionism theory together with scaffolding approach. The target group who were 18 elementary school science teachers under the Nan Primary Education Service Area Office 1. The research instruments were 1) an achievement test for science learning management with creativity and productivity, 2) an evaluation form for examining the ability to write a science learning management plan with creativity and productivity, 3) an evaluation form for examining the ability to manage science learning with creativity and productivity and 4) an evaluation form for examining attitude towards science learning management with creativity and productivity. The data were analyzed by using percentage, mean (x̅), standard deviation (S.D.), and dependent t-test. The findings are as follows.  1.The competency in science learning management with creativity and productivity was, overall, at a high level (x̅ = 3.65, S.D. = 0.66). The aspect that the teachers had the least competency in was the organization of learning activities by allowing learners to create products from the surrounding problem situations (x̅ = 3.33, S.D. = 0.66). It was followed by writing a learning management plan that focused on developing learners to analyze and create productive work (x̅ = 3.37, S.D. = 0.61) and choosing to use the surrounding situations to organize learning activities that allowed learners to create productive work (x̅ = 3.38, S.D. = 0.63), and 2) the important concepts in developing the model for enhancing teachers’ competency were organizing learning management with creativity and productivity, creating knowledge through products, scaffolding the knowledge, enhancing teachers’ competency, and creating a professional learning community. 2. The model for enhancing teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity consisted of 1) principles, 2) goals, 3) contents, 4) development process, and 5) measurement and evaluation. The process of science learning management with creativity and productivity consisted of 5 steps: 1) generating interest and identifying the problems, 2) planning for determining the method, 3) creating product output, 4) presenting, and 5) evaluating, summarizing, and expanding. The results of the evaluation for the appropriateness of the model showed that the appropriateness of the model was at a high level (x̅ = 4.48, S.D. = 0.48). The result of using this model revealed that the model for enhancing teachers’ competency had an effectiveness index of 0.5302 or 53.02%.   3. The knowledge and understanding of science learning management with creativity and productivity of the teachers after using this model were significantly higher than before, at the .05 level. The teachers' ability to write a learning management plan of the teachers after the development was 79.37%, higher than the 70% standard criteria, which was statistically significant at the .05 level. The ability to manage learning activities of the teachers after the development was 82.28%, higher than the 70% standard criteria, which was statistically significant at the .05 level. Additionally, the teachers who participated in the development had a positive attitude towards science learning management with creativity and productivity higher than before the development, which was statistically significant at the .05 level. 4. Results of the evaluation for the model for enhancing teachers’ competency in science learning management with creativity and productivity based on using constructionism theory together with scaffolding approach were at a high level (x̅= 4.41, S.D. = 0.62).
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับ แนวคิดการเสริมต่อความรู้ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะและ แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสร้างสรรค์และ ผลิตภาพ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบเสริมสร้างสมรรรถนะครูด้านการจัดการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับ แนวคิดการเสริมต่อความรู้ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพ ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อความรู้ กลุ่มตัวอย่างใน การทดลองใช้รูปแบบเป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ 2) แบบประเมิน ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพและ 4) แบบประเมินเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบค่าที (T-test) แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพในภาพรวมมี สมรรถนะอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.65, S.D. = 0.66) ประเด็นที่ครูมีสมรรถนะน้อยที่สุด ได้แก่ มี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลผลิตชิ้นงานจากสถานการณ์ปัญหารอบตัว (x̅ = 3.33, S.D. = 0.66) ลำดับต่อมาคือมีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน ให้มีการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลผลิตชิ้นงาน (x̅= 3.37, S.D. = 0.61) และมีการเลือกใช้สถานการณ์ รอบตัวในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลผลิตชิ้นงาน (x̅ = 3.38, S.D. = 0.63) ตามลำดับ แนวคิดสำคัญในการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ การสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงาน การเสริมต่อความรู้ การพัฒนา สมรรถนะครู และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพมีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) จุดหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพมี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างความสนใจและระบุปัญหา 2) ขั้นวางแผนค้นหากำหนดวิธีการ 3) ขั้นลงมือปฏิบัติสร้างผลผลิตชิ้นงาน 4) ขั้นสื่อสารนำเสนอ 5) ขั้นประเมิน สรุปและขยายผล รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.48, S.D. = 0.48) ผลการทดลองนำร่องพบว่ารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะมีค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.5302 คิดเป็นร้อยละ 53.02 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครู พบว่าความรู้ความเข้าใจในการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของครูหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของ ครูหลังการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 79.37 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ความสามารถในการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูหลังการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 82.28 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่เข้าร่วมการพัฒนา มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์แลผลิตภาพหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   4. ผลการประเมินรูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงานร่วมกับแนวคิด การเสริมต่อความรู้พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.41, S.D. = 0.62) 
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5033
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031010.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.