Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5031
Title: การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์โดยโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ 
DEVELOPMENT OF TECHNOLOGICAL PEDAGOGICAL CONTENT KNOWLEDGE IN SCIENCE TEACHERS THROUGH WORKSHOP AND LESSON STUDY PROGRAM: CASE STUDY OF OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOL IN CHAIYAPHUM    
Authors: CHOTIKUN RINLA
โชติกุล รินลา
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี
โปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน
ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Technological Pedagogical Content knowledge
Workshop and lesson Study Program
Science Teacher
Opportunity Expansion School
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This qualitative research was a case study that examined the teachers’ perceptions of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) before participating in workshop and lesson study program and the development of their TPACK during participating in workshop and lesson study program. The participants of this study were two lower-secondary science teachers and the development of TPACK through workshop and lesson study by two lower-secondary science teachers consisted teacher Weena and teacher Aree from the Opportunity Expansion School in Chaiyaphum. Data were collected from teacher interviews, concept tests, lesson plans, classroom observations, teaching practice reflection, and field notes. Data were analyzed through content analysis in two steps, within-case and cross-case analysis, then synthesized into a summary. Methodological triangulation was used to ensure the credibility of the research. The results revealed that, before joining the workshop and lesson study program, most teachers focused on lectures using PowerPoints as teaching media and had misconceptions about inquiry-based teaching. Teacher Weena had limited technological knowledge, resulting in the design of learning activities that integrated technology with little to no variety. Teacher Aree had knowledge of a variety of technologies but did not apply them in teaching practice. When teachers participated in the workshop and lesson study, they learned about integrating technology into science teaching through the exchange of ideas in curriculum analysis, a study of TPACK research, the participation in hands-on experiment, the try out on content specific technologies, and reflections on science learning activities, resulting in better knowledge and understanding of the integration of technology for learning management by changing the perspective of using technology as a lecture-based teaching tool to the perspective of using technology as a tool for learners' inquiry, even if not yet being able to use technology specific to the content and suitable for inquiry-based teaching methods. When the teachers participated in the process of lesson study on the topic of chemical reactions including designing the lesson, teaching and observing the lesson, reflecting and evaluating, revising the lesson, and teaching the revised lesson, both teachers could design learning activities and change teaching practices to focus more on encouraging learners to use technology as a tool in scientific inquiry. Therefore, Teacher Aree developed TPACK faster than Teacher Weena, and the two teachers had different patterns of their TPACK development. Teacher Weena integrated technology with specific content in the exploration step, while Teacher Aree integrated technology with specific content consistent with the exploration step, including examination of students’ knowledge in the engagement and evaluation step.
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) ศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยผู้ร่วมวิจัยคือครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 คน ประกอบด้วยครูวีณาและครูอารีย์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความรู้ในเนื้อหา แบบวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการปฏิบัติการสอน แบบสะท้อนการปฏิบัติการสอน และแบบบันทึกภาคสนาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ภายในกรณี และขั้นที่ 2 วิเคราะห์ระหว่างกรณี แล้วจึงทำการสังเคราะห์เป็นข้อสรุปรวมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกันครูเน้นการสอนแบบบรรยายโดยใช้โปรแกรม PowerPoint เป็นสื่อประกอบการสอนและมีแนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยครูวีณามีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่จำกัดส่งผลให้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเทคโนโลยีได้ไม่หลากหลาย และครูอารีย์มีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายแต่ไม่นำมาใช้ในการปฏิบัติการสอน ในระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดในการวิเคราะห์หลักสูตร การศึกษางานวิจัย การปฏิบัติการทดลอง การใช้สื่อเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์และการร่วมกันสะท้อนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ส่งผลให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้โดยเปลี่ยนมุมมองจากการใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อประกอบการสอนแบบบรรยายเป็นมุมมองการใช้เทคโนโลยีในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามครูยังไม่สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เมื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเรื่องปฏิกิริยาเคมีที่ประกอบด้วยการออกแบบบทเรียน การปฏิบัติการสอน การสังเกตการปฏิบัติการสอน การประเมินและสะท้อนบทเรียน การปรับปรุงบทเรียน รวมทั้งการปฏิบัติการสอนบทเรียนที่ปรับปรุงแล้ว ครูทั้ง 2 คน สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการสอนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ โดยครูอารีย์มีการพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีที่รวดเร็วกว่าครูวีณา ครูทั้ง 2 คน มีการพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน กรณีครูวีณามักจะใช้เทคโนโลยีที่จำเพาะกับเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นสำรวจและค้นหา ส่วนครูอารีย์จะใช้เทคโนโลยีที่จำเพาะกับเนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นสำรวจและค้นหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีตรวจสอบความรู้ของผู้เรียนในขั้นสร้างความสนใจและขั้นประเมิน
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5031
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61030372.pdf8.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.