Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5022
Title: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
The development of model for enhancing the ability in activity learning management for teachers using lesson study through professional learning community
Authors: ORATHAI SAENGLUN
อรไท แสงลุน
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การศึกษาชั้นเรียน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Active learning management
Lesson study
Professional learning community
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to develop a model for enhancing teachers' active teaching ability using classroom lesson study through a professional learning community. The research was conducted according to the following 4 steps: 1) a study of conditions, problems, and guidelines for enhancing teachers' active teaching ability; 2) to create and check a model for enhancing teachers' active teaching ability using classroom lesson study through a professional learning community. 3) to try out a model for enhancing teachers' active teaching ability using classroom lesson study through a professional learning community and 4) evaluating  a model for enhancing teachers' active teaching ability using classroom lesson study through a professional learning community The sample consisted of 30 secondary school teachers selected from the Office of Secondary Education Service  Area 9, Suphanburi Province. The research instruments included active teaching ability assessment form, and learning record form. The experiment was conducted for 30.5 hours and data analyzed using percentages, mean, standard deviation and content analysis The research results revealed as follows: the results of the study of the condition and problem of learning management found that the condition of learning management at a high level while problem situation was at a moderate level, including the guidelines for  promoting the  ability in activity learning management  by learning together  through professional learning community in the process of lesson study Moreover, the results from creating and checking  a model for enhancing teachers’ active teaching ability using lesson study through professional learning communities found that the developed model consisted of 5 components: principles of model; objective, content, learning process and measurement and evaluation. The examination of the model for enhancing teachers’ active teaching ability found that the appropriateness of the overall model was at a high level and the evaluation of the model manual found that the appropriateness of the manual was generally at a high level. The results of checking the quality of the model by conducting a pilot revealed that teachers’ active teaching ability was more than the specified criteria at 70.0% (3.50 or more), equal to 0.78 points, with a statistical significance at the 0.05 level which is generally at a high level. Apparently, the results  from implementing  a model for enhancing teachers’ active found that teachers’ active teaching ability is at 70.0 % (3.50 or more), equal to 0.86 points, with an overall statistical significance at the 0.05 level. Eventually, the result from the evaluation showed that the overall was in the highest level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูอาสาสมัครสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี  จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแบบบันทึกการเรียนรู้ ดำเนินการทดลอง 30.5 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก  ปัญหาการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู คือ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการพัฒนาครูให้ทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการของการศึกษาชั้นเรียนร่วมกัน  2) ผลการสร้างรูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ และการวัดและประเมินผล  การตรวจสอบรูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการทดลองนำร่องกับครูไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างพบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70.0 (3.50 คะแนนขึ้นไป) เท่ากับ 0.78 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70.0 (3.50 คะแนนขึ้นไป) เท่ากับ 0.86 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  4) ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.58, S.D. = 0.36)
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5022
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031530.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.