Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5021
Title: แนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครู เพื่อพัฒนาแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครู  
Guideline of Teaching Physics for  Teachers Course  to Develop Pre-Service Teachers’ Conception and Self-Efficacy
Authors: SUPRANEE PITSAMAI
สุปราณี พิศมัย
Thitiya Bongkotphet
ธิติยา บงกชเพชร
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: แนวทางจัดการเรียนรู้
แนวคิดฟิสิกส์
พลังสมรรถนะแห่งตน
learning management
concept of physics
self-efficacy
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to 1) develop a learning Physics guideline for teacher who promote their own concepts and self-efficacy.; 2) develop the concept of pre-service science teacher.; 3) develop the self-efficacy of pre-service science teacher. The research participants were 18 1st year students of a teacher production institute in the lower northern region in general science program, chosen by purposive sampling. As professional development for teachers used 3 strategies: 1) curriculum topic study, 2) content course and 3) immersion in inquiry in science. Research tools were a student learning reflection and practice, record form after class, open-ended physics concept test, self-efficacy questionnaire and a semi-structured interview. Data were analyzed by content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.  As the consequences 1) The guideline of teaching physics for teacher course to develop pre-service teachers’ conception and self- efficacy. Instructors design activities to study the basic education core curriculum indicators, study of misconceptions, used the situation to verify prior knowledge, emphasis on giving students direct experience, opportunities for brainstorming and discussion, the opportunity to practice teaching in the classroom, assign students to work in group and used of positive reinforcement. 2) The students had higher complete concepts when receiving the learning management. 3) The self-efficacy was higher than before the learning management as significantly at 0.05. As in this research, the aforementioned learning management approach could be improved for the physics concept and the self-efficacy of pre-service teachers.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูที่ส่งเสริมแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตน 2) เพื่อพัฒนาแนวคิดของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 1 สถาบันการผลิตครูแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ในการพัฒนาวิชาชีพครูใช้ 3 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการศึกษาหัวข้อหลักสูตร 2) กลวิธีเนื้อหารายวิชา และ 3) กลวิธีการสืบสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสะท้อนการเรียนรู้และการปฏิบัติของนักศึกษา แบบบันทึกหลังสอน แบบวัดแนวคิดวิชาฟิสิกส์สำหรับครู แบบสอบถามพลังสมรรถนะแห่งตน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับวัดพลังสมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test  ผลการวิจัยพบว่า  1) แนวทางจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูที่พัฒนาแนวคิดและพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครู ผู้สอนออกแบบกิจกรรมให้มีการศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวคิดที่คลาดเคลื่อน ใช้สถานการณ์ตรวจสอบความรู้เดิมเน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง เปิดโอกาสระดมความคิดและอภิปรายผล เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม และการใช้คำพูดเสริมแรงทางบวก  2) นักศึกษามีแนวคิดที่สมบูรณ์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้  3) พลังสมรรถนะแห่งตนหลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากงานวิจัยนี้พบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นสามารถพัฒนาแนวคิดฟิสิกส์และพลังสมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาครูสูงขึ้น
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5021
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60031400.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.