Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5019
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์
The Development of Training Curriculum to enhance the ability of manage Thai Language Learning based on Translanguaging Theory for the teachers of Ethnic Group Students
Authors: THITIPORN KHAISAENG
ฐิติพร ไขแสง
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
ทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา
นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์
The development of training curriculum
ability in Thai
Language learning management
Transtanguaging Theory
ethnic group students
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to develop a training curriculum to enhance the ability in Thai language learning management based on Translanguaging Theory for teachers of ethnic group. The research methods consisted of Step 1: studying the knowledge of Thai language learning management for ethnic students by using in-depth interviews with experts in Thai language learning management for ethnic students and studying the concepts of the development of training curriculum and the management of Thai language teaching for ethnic students in order to determine the scope and order of training for Thai language learning management for ethnic students, Step 2: creating and checking the quality of training curriculum, Step 3: experimenting using this training curriculum (36-hour training curriculum) with a sample group of 10 teachers of grade 3 ethnic students in schools under the Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6, chosen by using Purposive Selecting, and using One Group Pretest-Posttest Design, and Step 4: evaluating this training curriculum by assessing the trainees’ satisfaction towards the implementation of the curriculum in terms of input, process, and output. The research findings are as follows: 1. Regarding the results of studying the knowledge of Thai language learning management for ethnic students and the concepts of the development of training curriculum and the management of Thai language learning management for ethnic students, it was found that: 1.1 For Thai language learning management for ethnic group students, teachers should have knowledge and understanding of the standards and indicators in Thai language learning curriculum, have the ability to organize learning activities by taking the differences of learners into account, encourage students to learn by doing, have knowledge and understanding of society and culture, and have a good attitude towards ethnic group students. 1.2 For the concepts of the development of training curriculum and the management of Thai language learning for ethnic group students, it was found that, to enhance teachers' ability in Thai language learning management, the "training" should be used since it enhanced and developed knowledge, understanding, experiences, and abilities and changed teaching behaviors. The contents and activities of the training curriculum should be a curriculum that aimed to promote the ability of teachers to organize teaching and learning activities for ethnic group students to learn and understand the standard language or Thai language correctly. 2. Regarding the results of creating and checking the quality of training curriculum, it was revealed that the training curriculum consisted of 2 parts: 1) the training curriculum and documentation for training curriculum, including background and importance, principles, aims, curriculum structure, guidelines for organizing training activities, training activities, course materials, and measurement and evaluation and 2) the training curriculum documents included a training curriculum manual consisting of a plan of training activities and measurement and evaluation tools. For the assessment of the experts regarding the suitability of the training curriculum, the results showed that, overall, the curriculum was at a high level (Average = 4.46, SD = 0.55), and the curriculum documentation, overall, was at a high level (Average = 4.40, SD = 0.55). The results of the curriculum pilot experiment revealed that the training curriculum was feasible for practical implementation. 3. Regarding the results of experimenting using this training curriculum, the results revealed that the teachers who were trained in the curriculum had the knowledge and understanding about Thai language learning management based on Translanguaging Theory for ethnic group students after the training statistically and significantly higher than before the training at .05 level. 4. The results of the training curriculum evaluation showed that the satisfaction of the teachers who were trained in terms of input towards characteristics of trainers was at the highest level (Average = 4.56, SD = 0.39), the satisfaction in terms of process towards organizing activities according to the curriculum was at a high level (Average = 4.48, SD = 0.39), and the satisfaction in terms of output towards bringing knowledge gained from the training into practice was at a high level (Average = 4.32, SD = 0.50).  
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับครูที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ วิธีดำเนินการวิจัย ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อนำมากำหนดเป็นขอบข่ายและลำดับการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียน กลุ่มชาติพันธุ์  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เป็นการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูผู้สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเป็นเวลา 36 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest-Posttest Design) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเป็นการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการใช้หลักสูตรโดยประเมิน ความคิดเห็นของครูผู้เข้าฝึกอบรมด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์  ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า 1.1 การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์  ครูควรมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน  มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติจริง และครูควรมีความรู้ความเข้าใจสังคม วัฒนธรรม และมีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า การเสริมสร้างความสามารถครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ควรใช้รูปแบบ "การฝึกอบรม" เพราะเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความสามารถ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอน สาระสำคัญและกิจกรรมของหลักสูตรฝึกอบรม ควรเป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมความสามารถให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ให้เรียนรู้และเข้าใจภาษามาตรฐานหรือภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง 2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) หลักสูตรฝึกอบรม และเอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อ และการวัดและประเมินผล และ 2) เอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ คู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และเครื่องมือวัดและประเมินผล ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า องค์ประกอบหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.46, SD = 0.55) และเอกสารประกอบหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.40, SD = 0.55)  ผลการทดลองนำร่องหลักสูตร พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ครูผู้เข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ตามทฤษฎีเชื่อมโอนภาษา สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   4. ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ความพึงพอใจของครูผู้เข้าฝึกอบรมด้านปัจจัยนำเข้าที่มีต่อคุณลักษณะของวิทยากรอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, SD = 0.39), ด้านกระบวนการที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.48, SD = 0.39) และด้านผลลัพธ์ที่มีต่อการนำผลที่ได้จากการเข้าฝึกอบรมไปปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, SD = 0.50)
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5019
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60030441.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.