Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5015
Title: การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมผู้บริหารอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยใช้หลักการจัดการความรู้แบบวิศวกรรมความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของผู้จัดการฝ่ายผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
A Development of Training Model for Digital Industry Executives using Principles of Knowledge Management based on Engineering Knowledge to Enhance the Digital Competency for the Production Manager of the Industrial Factory
Authors: Manoch Suphapanworakul
มาโนช สุภาพันธ์วรกุล
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: สมรรถนะดิจิทัล
ผู้จัดการฝ่ายผลิต
รูปแบบฝึกอบรม
Digital competencies
Production manager
Training model
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study digital competencies of industrial production managers, create and study the effectiveness index of the training model, use and study the use of the training model, and evaluate the effects of the use of the training model for digital performance of industrial production managers using knowledge engineering in order to promote digital competencies of industrial production managers. The research included 4 parts as follows. For Part 1, digital competencies of industrial production managers were studied through documents and related research and interviewing with experts, business owners, and industrial production managers. The data were then analyzed using content analysis. For Part 2, the effectiveness index of the training model was created and studied through documents and related research, the results obtained from Part 1, interviewing with the experts, and trying it out with the industrial production managers. The data then were analyzed using content analysis, one sample t-test, and analysis of the effectiveness index. For Part 3, the training model was used with industrial production managers. The data were then analyzed using mean, standard deviation, and dependent samples t-test. For Part 4, the use of the training model was evaluated by asking the industrial production managers to complete a questionnaire after the training. The data then were analyzed using mean, and standard deviation. The findings are as follows: 1. Digital competencies of industrial production managers consisted of digital technology management competency, digital content management, digital knowledge management, and the evaluation and digital problem solving. 2. The training model included 3 steps: 1) pre-training stage consisting of preparation, defining digital problems, and exchanging knowledge, 2) training stage consisting of knowledge capture, knowledge analysis, and knowledge synthesis, and 3) post-training stage consisting of application of knowledge and monitoring and evaluating the use of knowledge in the form of training. The effectiveness index was .8875. 3. After using the training model, the industrial production managers had higher digital competencies than before the training and above the threshold of 80 percent with a statistically significant level of .01. 4. After the training, the industrial production managers thought that input, process, and output of the training model were most appropriate, and the satisfaction with the training model was at the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัล ของผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม  สร้างและศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบฝึกอบรม ใช้และศึกษาการใช้รูปแบบฝึกอบรม และประเมินผลการใช้รูปแบบฝึกอบรมผู้บริหารอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยใช้หลักการจัดการความรู้แบบวิศวกรรมความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัล ของผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของสถานประกอบการ ผู้บริหาร และผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 2 สร้างและศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบฝึกอบรม ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย ผลการศึกษาขั้นตอนที่ 1 สอบถามผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้กับผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา การทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล ตอนที่ 3 ใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบฝึกอบรม ด้วยการทดลองใช้กับผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดลองทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบฝึกอบรม ด้วยการสอบถามผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม หลังการฝึกอบรม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย มีดังนี้     1. สมรรถนะดิจิทัลของผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย สมรรถนะการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเนื้อหาดิจิทัล การจัดการความรู้ดิจิทัล และการประเมินและแก้ไขปัญหาดิจิทัล 2. รูปแบบฝึกอบรมมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นก่อนฝึกอบรม ได้แก่ การเตรียมความพร้อม กำหนดปัญหาดิจิทัล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ขั้นฝึกอบรม ได้แก่ การจับความรู้ วิเคราะห์ความรู้ และสังเคราะห์ความรู้ และ 3) ขั้นหลังฝึกอบรม ได้แก่ การนำความรู้ไปใช้ และติดตามและประเมินผลการใช้ความรู้ โดยรูปแบบฝึกอบรม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .8875 3. หลังการใช้รูปแบบฝึกอบรม ผู้จัดการฝ่ายผลิตโรงงานอุตสาหกรรม มีสมรรถนะดิจิทัลสูงกว่าก่อนฝึกอบรม และสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผู้จัดการฝ่ายผลิต โรงงานอุตสาหกรรม เห็นว่าปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของรูปแบบฝึกอบรม มีความเหมาะสมมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5015
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59031227.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.