Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5006
Title: แนวทางการจัดการเชิงพื้นที่สำหรับพื้นที่กันชนระหว่างสถานีขนส่งและกระจายสินค้ากับพื้นที่ชุมชนรอบๆ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบและสนับสนุนการอยู่ดีมีสุขของชุมชน กรณีศึกษาสถานีขนส่งและกระจายสินค้าจังหวัดพิษณุโลก
Spatial management guidelines of buffer zone between logistics station and surrounding community area for minimizing negative impacts and enhancing community well-being : A case study of Phitsanulok logistics station
Authors: JIRAKRIT JUDPHOL
จิรกฤษ จัดพล
Suwanna Rongwiriyaphanich
สุวรรณา รองวิริยะพานิช
Naresuan University. Faculty of Architecture, Art and Design
Keywords: สถานีขนส่งและกระจายสินค้า
พื้นที่กันชน
การอยู่ดีมีสุขของชุมชน
logistic station
buffer zone
community well-being
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: Buffer zone is widely used as a method of spatial management around industrial area. It aims to reduce negative impacts created by industrial area to surrounding area. Logistic station is considered as a service industry, which is one form of industry. Similar to other types on industrial area, activities in logistic station result in negative impacts to surrounding area. Main negative impacts are noise and air pollution. At present, there are various standards of buffer zone suggested for manufacturing type of industrial area. However, specific standard for logistic station is not present. Also buffer zone is normally defined in term of distance around the polluting area. However, buffer zone could potentially be managed and utilized in a more efficient way than just to leave as an empty open space. This paper proposes spatial management guidelines of buffer zone between logistic station and surrounding community for enhancing community well-being. The proposed guidelines are developed from buffer zone concept, community well-being concept and transit-oriented development concept. Phitsanulok logistic station is used as a case study to illustrate application of the guidelines, as well as to examine limitations and important remarks of the guidelines.
การกำหนดพื้นที่กันชนรอบพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นวิธีการจัดการเชิงพื้นที่ที่ใช้อย่างกว้างขวาง โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากพื้นที่อุตสาหกรรมที่ปล่อยสู่พื้นที่โดยรอบ แต่อย่างไรก็ดีมาตรฐานการกำหนดพื้นที่กันชนที่ปรากฏในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการกำหนดระยะกันชนสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมด้านการผลิต ยังไม่มีมาตรฐานสากลสำหรับการกำหนดระยะกันชนของพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงบริการประเภทสถานีขนส่งและกระจายสินค้า นอกจากนั้นการกำหนดพื้นที่กันชนโดยทั่วไปถูกแสดงออกมาในรูปแบบระยะของพื้นที่กันชน อย่างไรก็ตามพื้นที่กันชนมีศักยภาพที่จะได้รับการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อให้พื้นที่กันชนดังกล่าวถูกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความฉบับนี้ศึกษาและวิเคราะห์แนวความคิดพื้นที่กันชน แนวความคิดการอยู่ดีมีสุขของชุมชน แนวความคิดการพัฒนาเมืองเชิงการขนส่ง  เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเชิงพื้นที่สำหรับพื้นที่กันชนระหว่างสถานีขนส่งและกระจายสินค้ากับพื้นที่โดยรอบเพื่อสนับสนุนกวามอยู่ดีมีสุขของชุมชน ผ่านการกำหนดระยะกันชนและพื้นที่กิจกรรมในพื้นที่กันชนให้ส่งเสริมศักยภาพและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชน จากนั้นแสดงการประยุกต์ใช้แนวทางดังกล่าวกับกรณีศึกษาโครงการสถานีขนส่งและกระจายสินค้าจังหวัดพิษณุโลก โดยผลการศึกษาที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงระยะกันชนที่กำหนดสำหรับสถานีขนส่งและกระจายสินค้า และพื้นที่กิจกรรมที่กำหนดลงบนพื้นที่กันชนเพื่อสนับสนุนการอยู่ดีมีสุขของชุมชนตามแนวทางเสนอแนะ รวมไปถึงข้อจำกัดและข้อสังเกตจากการประยุกต์ใช้งาน
Description: Master of Architecture Program (M.Arch.)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5006
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61063523.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.