Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4453
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงของวัยรุ่น ในจังหวัดแพร่
Factors Affecting Physical Activity Behavior of Adolescents in Phrae
Authors: CHANOKNUN FAKMIT
ชนกนันท์ ฝากมิตร
Rung Wongwat
รุ่ง วงศ์วัฒน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การเคลื่อนไหวออกแรง
วัยรุ่น
Physical activity
Adolescents
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this cross-sectional research study was to study factors affecting the physical activity behaviors among adolescents in Phrae Province. The samples were consisted of 368 adolescents aged (13-17 years old) by multi-stages random sampling. The data were collected by using a questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. The results showed that the samples mostly had physical activity behaviors at moderate level (54.8%). The factors affecting physical activity behaviors with statistically significant at 0.05 level were gender (p = 0.046), age (p = 0.003), attitude about the exercise (p <0.001), support from friends (p =0.002) and sports ability (p=0.027) Regarding recommendation, School Tambon Health Promoting Hospital and the District Public Health Office and Phrae Provincial Public Health Office Should motivate and encourage adolescents to have a positive attitude towards physical exertion. Including seeing the benefits of physical exertion and encouraging physical exertion through team sports or should set up a club to persuade people around to join in the movement activities.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงของวัยรุ่น ในจังหวัดแพร่  ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นอายุ 13-17  ปี จำนวน 368 คน  คัดเลือกสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 54.8) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (P=0.046) อายุ (P=0.003) ทัศนคติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวออกแรง (P< 0.001) การได้รับสนับสนุนจากเพื่อน (P=0.002) ความสามารถทางการกีฬา (P=0.027) ข้อเสนอแนะ: โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่          ควรสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้วัยรุ่นมีทัศนคติที่ดีต่อการเคลื่อนไหวออกแรง รวมถึงเห็นประโยชน์ของการเคลื่อนไหวออกแรงและสนับสนุนให้เคลื่อนไหวออกแรงโดยการเล่นกีฬาที่เป็นทีม หรือควรตั้งชมรมเพื่อชักจูงให้บุคคลรอบข้างมาเข้าร่วมทำกิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรง
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4453
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060033.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.