Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4052
Title: การพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต สำหรับนักศึกษาพยาบาล
A DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL SYSTEM USING SIMULATION SET COLLABORATED WITH THE PROCESS OF REFLECTION, ENHANCING NURSE STUDENTS’ DECISION-MAKING SKILLS IN CRITICAL CARE
Authors: NIKORN JANPILOM
นิกร จันภิลม
Supanee Sengsri
สุภาณี เส็งศรี
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: ระบบการเรียนการสอน
ชุดสถานการณ์เสมือนจริง
กระบวนการสะท้อนคิด
ทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย ภาวะวิกฤต
Instructional System
Simulation Set
The Process of Reflection
Decision-making skill in critical care
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: Instructional system using simulation set is considered an educational innovation used in nursing education in order to enhance nurse students’ nursing skills and decision. This study employed a research and developmental research. The research objectives were 1) to create and verify the quality of the system, 2) to study results of use the system; (2.1) decision-making skills before and after to use the activities, (2.2) nursing practicing in critical care before and after to use the activities, (2.3) satisfaction of learners, and 3) to valuation of the system. Methods of conducting research are divided into 3 phases, 1) to create and verify the quality of the system, 2) system trial, and 3) system evaluation The samples were 53 nurse students on level 4 year, Boromrajonnani College of Nursing, Phrae. Research instruments included; 1) semi-structured interview form regarding the situation and opinions about Instructional system using simulation set, 2) the instructional system model using Instructional system using simulation set with reflective thinking about critical care, 3) the evaluation form for decision-making skills in patients critical care, 4) the assessment of the satisfaction of the learner with the teaching system using a set of simulation set with the reflective thinking, and 5) the evaluation from for the learners’ satisfaction of Instructional system using simulation set. Data were analyzed using a qualitative data analysis, comparison statistics and dependent t-test. The findings revealed that: 1)The instructional system had 8 main elements, including (1)institutional policy, mission, and graduate identity, (2)teaching courses, (3)Instructors, (4)learners, (5)teaching activities with a set of simulation, (6)a set of virtual situations, (7)system user manual, and (8)supporting factors. The steps of instructional system had 9 main steps elements, (1) analyze of policy, mission, and graduate identity, (2)analyze curriculum, and course content, (3)make a lesson plan, (4)design scenarios, and commands to control Instructional system using simulation set, (5)organize teaching, and learning activities, (6)share reflection, (7)evaluate teaching and learning, (8)review the quality of teaching, and learning, and (9) reverse check, and improve results. 2) The result of using Instructional system using simulation set; (2.1)Regarding an investigation of efficacy of developed the instructional system, nurse students reported a significantly higher level of decision-making skills in critical care (p<.01), (2.2)Regarding an investigation of efficacy of developed the instructional system, nurse students reported a significantly higher level of nursing practicing in critical care (p<.01), (2.3)The students' satisfaction towards the teaching and learning system by using Instructional system using simulation set. Overall, it was at a high-level (=4.49, SD.=0.51). And 3) The results of system certification by experts found that the overall system suitability was guaranteed at the highest level in all aspects. 
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพระบบ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบ (2.1)ทักษะการตัดสินใจก่อนเรียนและหลังเรียน (2.2)ทักษะปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังเรียน (2.3)ความพึงพอใจของผู้เรียน และ3) เพื่อประเมินระบบ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพระบบ 2)การทดลองใช้ระบบ และ 3) การประเมินระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดสอบระบบ คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแพร่ จำนวน 53 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริง 2) ระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต” 3) แบบประเมินทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด และ5) แบบประเมินการรับรองความเหมาะสมของระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิด การวิเคราะห์ข้อมูลจัดกระทำทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการเรียนการสอนมี 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) นโยบายสถาบัน พันธกิจ และอัตลักษณ์บัณฑิต (2) หลักสูตรการเรียนการสอน (3) ผู้สอน (4) ผู้เรียน (5) กิจกรรมการสอนด้วยชุดสถานการณ์เสมือนจริง (6) ชุดสถานการณ์เสมือนจริง (7) คู่มือการใช้ระบบ และ(8) ปัจจัยเกื้อหนุน ขั้นตอนของระบบการเรียนการสอนมี 9 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) วิเคราะห์นโยบาย พันธกิจและอัตลักษณ์บัณฑิต (2) วิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหารายวิชา (3) วางแผนการเรียนการสอน (4) ออกแบบสถานการณ์และคำสั่งควบคุมชุดสถานการณ์เสมือนจริง (5) จัดกิจกรรมการเรียนการสอน (6) ร่วมสะท้อนคิด (7) ประเมินการเรียนการสอน (8) ทบทวนคุณภาพการเรียนการสอน และ (9) ตรวจผลย้อนกลับและปรับปรุง 2) ผลการทดลองระบบ (2.1) นักศึกษาพยาบาลมีทักษะ การตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังเรียนด้วยระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (2.2) นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังเรียนด้วยชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ,01 (2.3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, SD. = 0.51) และ 3) ผลการรับรองระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าภาพรวมระบบได้รับการรับรองความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4052
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60030656.pdf9.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.