Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3897
Title: การประเมินระดับที่เหมาะสมของใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำในสูตรอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก
Assessments of the optimum level of insoluble dietary fiber in broiler ration on growth performance and morphological alterations of the small intestine
Authors: KHATTIYA LANPANG
ขัตติยา ล้านแปง
Tossaporn Incharoen
ทศพร อินเจริญ
Naresuan University. Faculty of Agriculture,Natural Resources and Environment
Keywords: ไก่เนื้อ
ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ
สมรรถภาพการเจริญเติบโต
สัณฐานวิทยาของลำไส้
Broiler
Insoluble dietary fiber
Growth performance
Intestinal morphology
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: Nowadays, lignocellulose (LC) products mainly contain insoluble dietary fiber (IDF) which many brands of those products have been sold using as feed supplement for livestock. Anyways, most of the feedstuff in rations are derived from cereals and by-products of agricultural and food industries. These feedstuffs compose of high level of IDF already. Knowing the IDF type and level in each feed ingredient is necessary information for feed calculation and formulation. Because these data may be important factors to promote the health and growth performance without using imported and expensive LC products. In the first experiment, the effect of the level of insoluble dietary fiber in a semi-purified broiler diet on growth performance and intestinal morphology was investigated. A total of one hundred sixty 10-day-old male broilers (Ross 308) were divided into 4 groups with 8 replications (5 birds/pen). Each group was provided the semi-purified diet included with IDF at 0 (T1), 6 (T2), 8 (T3), and 10 (T4) %, respectively. The current study resulted showed that body weight gain and feed conversion ratio (P<0.05) improved in three experimental groups (6, 8, and 10 % IDF), while feed intake decreased significantly (P<0.05). Villus height, villus height to crypt depth ratio, and villus area increased (P<0.05) in the 6, 8, and 10 % IDF groups. Conversely, crypt depth showed the lowest values (P<0.05) in the 8, and 10 % IDF groups compared with another group. In the second experiment, the effects of levels of insoluble dietary fiber in broiler ration on growth performance, nutrient digestibility, intestinal morphology, and feed movement time through the alimentary canal were determined. A total of one hundred sixty 10-day-old male broilers (Ross 308) were divided into 4 groups with 8 replications (5 birds/pen). Each group was provided the diet containing different levels of IDF at 9 (T1), 10 (T2), 11 (T3), and 12 (T4) %, respectively. At the end of the trial, weight gain and feed conversion ratio tended to be better with increasing IDF levels (P<0.05), whereas feed intake was decreased (P < 0.05). For intestinal morphological analysis, villus height, villus height to crypt depth ratio increased (P<0.05) in the 10, 11, and 12 % IDF groups, respectively. Moreover, villus area (P<0.05) increased in the 12 % IDF groups. While, duodenal crypt depth decreased (P<0.05), and lowest values were found in the 11, and 12 % IDF groups. Apparent digestibility of dry matter, crude protein, and ether extract increased (P<0.05) when increasing the IDF levels. On the other hand, crude fiber, and ash digestibility were not significantly (P>0.05) different among groups. In addition, feed movement through the alimentary canal until excretion used a short time (P<0.05) and cumulative feed intake increased (P<0.05) in the 10, 11, and 12 % IDF groups. Therefore, the current results can be concluded that 12 % IDF in broiler rations affects the best growth performance and morphological intestinal development, as well as the increasing apparent digestibility of dry matter, crude protein, and ether extract was observed. While feed movement time after eating was shorter when digesta passed through the alimentary canal until excretion.
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ประเภทใยอาหารกลุ่มลิกโนเซลลูโลส ออกมาจำหน่ายเพื่อใช้เป็นสารเสริมสำหรับสัตว์หลายยี่ห้อ ซึ่งประกอบไปด้วยใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ (insoluble dietary fiber, IDF) เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในสูตรอาหารส่วนใหญ่มักได้มาจากกลุ่มธัญพืช และผลพลอยได้ที่มาจากอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร  วัตถุดิบอาหารสัตว์เหล่านี้มีองค์ประกอบของใยอาหารไม่ละลายน้ำในระดับที่สูงอยู่แล้ว หากทราบชนิดและระดับของใยอาหารที่เป็นองค์ประกอบในวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในสูตรอาหารไก่เนื้อ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณและประกอบสูตรอาหาร อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพการเจริญเติบโตให้ดีขึ้นได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้สารเสริมกลุ่มลิกโนเซลลูโลสที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง การศึกษาที่ 1 ประเมินระดับของใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำในอาหารไก่เนื้อกึ่งบริสุทธิ์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและสัณฐานวิทยาของลำไส้ โดยใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์ รอส 308 (Ross 308) เพศผู้ อายุ 10 วัน จำนวน 160 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 8 ซ้ำๆ ละ 5 ตัว ไก่แต่ละกลุ่มได้รับ อาหารไก่เนื้อกึ่งบริสุทธิ์ที่ประกอบไปด้วย IDF ที่ระดับ 0 (T1), 6 (T2), 8 (T3) และ 10 (T4) เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว มีค่าดีขึ้น (P<0.05) ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ในอาหารทั้ง 3 ระดับ แต่ในทางตรงกันข้าม ปริมาณอาหารที่กิน มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสูงวิลไล อัตราส่วนของความสูงวิลไลต่อความลึกของคริปต์ พื้นที่ของวิลไล มีค่าเพิ่มสูงขึ้น (P<0.05) ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ที่ระดับ 6, 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความลึกของคริปต์ มีค่าต่ำสุด (P<0.05) ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ที่ระดับ 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น การศึกษาที่ 2 ศึกษาผลของระดับใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำในสูตรอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิต อัตราการย่อยได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของอาหารในท่อทางเดินอาหารและสัณฐานวิทยาของลำไส้ โดยใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์ รอส 308 (Ross 308) เพศผู้ อายุ 10 วัน จำนวน 160 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 8 ซ้ำๆ ละ 5 ตัว ไก่แต่ละกลุ่มได้รับอาหารไก่เนื้อที่ประกอบไปด้วย IDF ที่ระดับ 9 (T1), 10 (T2), 11 (T3) และ 12 (T4) เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว มีค่าที่ดีขึ้น (P<0.05) ตามระดับของ IDF ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณอาหารที่กินกลับมีค่าลดลง (P<0.05) การประเมินสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก พบว่า ความสูงของวิลไลและอัตราส่วนความสูงของวิลไลต่อความลึกของคริปต์ มีค่าเพิ่มสูงขึ้น (P<0.05) ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ที่ระดับ 10, 11 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนั้นแล้วพื้นที่ของวิลไล มีค่าเพิ่มขึ้น (P<0.05) ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ที่ระดับ 12 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความลึกของคริปต์บริเวณลำไส้เล็กต้น มีค่าลดลง (P<0.05) และมีค่าต่ำสุดในกลุ่มได้รับ IDF ที่ระดับ 11 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ปรากฏของวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ และไขมัน มีค่าเพิ่มสูงขึ้น (P<0.05) ตามระดับของ IDF ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ปรากฏของเยื่อใยหยาบและเถ้า มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนั้น ระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของอาหารในท่อทางเดินอาหารของไก่เนื้อใช้ระยะเวลาสั้นลง (P<0.05) และปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยสะสมเพิ่มขึ้น ในกลุ่มที่ได้รับ IDF ในอาหาร ที่ระดับ 10, 11 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ใยอาหารไม่ละลายน้ำในสูตรอาหารไก่เนื้อ ที่ระดับ 12 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลดีที่สุดต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การพัฒนาโครงสร้างวิลไลของลำไส้เล็ก รวมถึงสามารถช่วยเพิ่มอัตราการย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ และไขมัน ในขณะที่อัตราการเคลื่อนที่ของอาหารในท่อทางเดินอาหารจนกระทั่งขับถ่ายมูลใช้ระยะเวลาสั้นลง  
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3897
Appears in Collections:คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060508.pdf8.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.