Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2557
Title: ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกรด   อำเภอสากเหล็ก  จังหวัดพิจิตร
 Effects of Protection Motivation Theory applying program together with Social support on cervical cancers screening among 30 to 60 year-old women at Bannongkrod health promoting hospital, Saklake district, Phichit province.
Authors: TANYONG OIEMPORN
ตันหยง เอี่ยมพร
Civilaiz Wanaratwichit
ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค
การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
ห้องตรวจ
Protection Motivation Theory
Cervical Cancer Screening
Examination room
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the Effects of Protection Motivation Theory applying program together with Social support on cervical cancers screening.The sample consisted of women aged 30-60 years at Bannongkrod health promoting hospital, Saklake district, Phichit province and never received cervical cancer screening.Simple randomized sampling was applied to assign the individuals to a comparison group and an experimental group. There were 42 participants in each group. The experimental group participated in the program of applying protection motivation theory and social support for cervical cancer screening. The comparison group received a health education from public health technical officer. General data was analyzed by statistics, percentage, mean, and standard deviation. Data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics are the chi-square test, the paired t-test and independent t-test. The statistically significant was set at 0.05 level. The results showed that the experimental group had significantly higher mean scores of perceived severity of cervical cancer, perceived of risk of developing cervical cancer, self-efficacy and response efficacy of cervical cancer screening and social support to cervical cancer screening. The experimental group also had significantly higher scores than the comparison group at p <0.05.  As well, the percentage of cervical screening was also higher in the experimental group than in the comparison group (1.6 times), also with a statistical significance (p<.05). In conclusion, The program of applying protection motivation theory and social support for cervical cancer screening among 30 to 60 year old women significantly increased uptake of cervical cancer screening.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30-60 ปีในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกรด   อำเภอสากเหล็ก  จังหวัดพิจิตร ที่ไม่เคยมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  แบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีจำนวนผู้เข้าร่วมกลุ่มละ 42 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามปกติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-Square Test Paired t-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก   ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ ร้อยละของการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (1.6เท่า) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี สามารถทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2557
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61061024.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.