Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2000
Title: คุณลักษณะของอุปกรณ์นับวัดปริมาณรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอทในพลังงาน 6 เมกะโวลต์ ที่ไม่ใช้ตัวกรองปรับเรียบ
CHARACTERISTICS OF NANODOT OPTICALLY STIMULATED LUMINESCENCE DOSIMETER IN 6 MV FLATTENING FILTER FREE PHOTON BEAM
Authors: DUANGKAMOL WANNAWIKORN
ดวงกมล วรรณวิกรม์
Supawitoo Sookpeng
ศุภวิทู สุขเพ็ง
Naresuan University. Faculty of Allied Health Sciences
Keywords: อุปกรณ์วัดรังสี
โอเอสแอล
นาโนดอท
รังสีรักษา
Radiation dosimeter
OSL
Nanodot
Radiation therapy
Issue Date: 2563
Publisher: Naresuan University
Abstract: A radiation dosimeter is an essential device used for verification of patients radiation dose. The knowledge of the characterization of a dosimeter is crucial. The research aimed to study the dosimetric characteristics of optically stimulated luminescence (OSL) nanoDot for 6 megavoltage (MV) photon beam with Flattening Filter (FF) and 6 MV photon beam with Flattening Filter Free (FFF). Fading characteristics, signal depletion per readout, reproducibility,  dose rate dependence, angular dependence, source to surface distance (SSD) dependence, and dose linearity were evaluated. The measurements were carried out with Source to Axis Distance (SAD) and SSD techniques using all available parameters used in the clinical range. The signal was read out after irradiation. The results revealed that the signal read at 5 and 8 minutes after irradiation were 15% faded for 6 MV photon beam with FF and 6 MV photon beam with FFF respectively, and those for 30 days were 5% in addition. The signal loss per read out was found to be 0.05%. The radiation response was found to be dose rate independent but angular and SSD dependences.  It also responds dose linearity for the dosimeter was observed for doses up to 300 cGy, for both 6 MV photon beam with FF and 6 MV photon beam with FFF.
อุปกรณ์นับวัดรังสีเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบปริมาณรังสีที่จะฉายรังสีให้แก่ผู้ป่วย ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของอุปกรณ์นับวัดรังสีจึงมีความจำเป็น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์นับวัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท ในพลังงาน 6 เมกะโวลต์ ใช้ตัวกรองปรับเรียบ และ 6 เมกะโวลต์ ที่ไม่ใช้ตัวกรองปรับเรียบ โดยทำการศึกษาลักษณะการจางหายของสัญญาณ การสูญเสียสัญญาณต่อการอ่านค่า ผลการวัดปริมาณรังสีซ้ำ การตอบสนองต่ออัตราปริมาณรังสี การตอบสนองต่อทิศทางของลำรังสี การตอบสนองต่อระยะทางระหว่างแหล่งกําเนิดรังสี และความเป็นเชิงเส้นต่อปริมาณรังสี  โดยทำการฉายรังสีไปยังอุปกรณ์วัดรังสี ด้วยเทคนิคระยะทางระหว่างแหล่งกําเนิดรังสีกับจุดร่วมลํารังสี  และเทคนิคระยะทางระหว่างแหล่งกําเนิดรังสีกับพื้นผิว  ตั้งค่าพารามิเตอร์ของการทดสอบตามการใช้งานทางคลินิก หลังจากการฉายรังสีทำการอ่านค่านับวัด ผลการศึกษาพบว่า ค่านับวัดอ่านที่เวลา 5 และ 8 นาทีภายหลังฉายรังสี มีการจางหายของสัญญาณอยู่ในช่วงร้อยละ 13 สำหรับพลังงาน 6 เมกะโวลต์ ใช้ตัวกรองปรับเรียบ และ 6 เมกะโวลต์ ที่ไม่ใช้ตัวกรองปรับเรียบตามลำดับ และค่านับวัดอ่านที่เวลา 30 วันภายหลังการฉายรังสี  มีการจางหายของสัญญาณร้อยละ 5  การสูญเสียสัญญาณจากการอ่านค่านับวัดรังสีซ้ำอยู่ที่ ร้อยละ 0.05 ต่อการอ่านค่า อุปกรณ์นับวัดรังสีมีลักษณะการตอบสนองของปริมาณรังสีไม่ขึ้นกับอัตราปริมาณรังสี แต่ขึ้นกับทิศทางของลำรังสี และระยะทางที่ได้รับรังสี อีกทั้งตอบสนองอย่างเป็นเชิงเส้นสำหรับปริมาณรังสีไม่เกิน 300 เซนติเกรย์ สำหรับทั้งพลังงาน 6 เมกะโวลต์ ใช้ตัวกรองปรับเรียบ และ 6 เมกะโวลต์ ที่ไม่ใช้ตัวกรองปรับเรียบ
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/2000
Appears in Collections:คณะสหเวชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060980.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.