Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1519
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัว และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
The effects of a self-regulation promoting program on anxiety, practices, and knee range of motion among patients with total knee arthroplasty.
Authors: KITTISAK KUMPEERA
กิตติศักดิ์ คัมภีระ
Wongduan Suwannakeeree
วงเดือน สุวรรณคีรี
Naresuan University. Faculty of Nursing
Keywords: การปรับตนเอง
ความวิตกกังวล
การปฏิบัติตัว
พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่า
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Self-regulation
Anxiety
Practice
Knee Range of Motion
Total Knee Arthroplasty
Issue Date: 2562
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this quasi-experimental research were to study the effects of a Self-regulation Promoting Program on anxiety, practices, and knee range of motion among patients with total knee arthroplasty. The sample was made up of patients who will undergo total knee arthroplasty in Naresuan University Hospital, Phitsanulok, Thailand. A total of 60 patients were recruited, 30 patients were assigned into the control group who received routine nursing care and 30 patients were assigned into the experimental group who received the Self-regulation Promoting Program. The data was collected between October 2019 and February 2020. The research instruments were the Self-regulation Promoting Program based on the Self-regulation Theory of Leventhal and Johnson (1983), anxiety and postoperative practice assessment forms and goniometer. These were content validated by five experts. The content validity index of the anxiety and postoperative practice assessment forms were 0.99 and 0.89, respectively. The reliability of the anxiety and postoperative practice assessment forms were 0.92 and 0.88, respectively and interrater reliability of goniometer measurement was 1. The data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test. The findings showed that 1) the anxiety before surgery of the patients in the experimental group after received Self-regulation promoting program were significantly less than those in the control group after received routine nursing care (p<.001), 2) the anxiety before surgery of the patients in the experimental group after received Self-regulation promoting program were significantly less than before received the program (p<.001), 3) the practice after surgery 48 hours of the patients in the experimental group were significantly higher than those in the control group (p<.001), and 4) the knee range of motion after surgery 48 hours of the patients in the experimental group were significantly higher than those in the control group (p<.001). The results of this study showed that the Self-regulation Promoting Program can reduce anxiety before surgery, promote appropriate practice and increase the knee range of motion after total knee arthroplasty. Therefore, the nurses should provide the importance of promoting self-regulation to the patients before surgery.  
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัว และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จำนวนทั้งสิ้น 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 30 ราย และกลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเอง 30 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตนเองของลีเวนทาลและจอห์นสัน (Leventhal, & Johnson, 1983) แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด และอุปกรณ์วัดองศาของข้อเข่า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด เท่ากับ 0.99 และ 0.89 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงของแบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด เท่ากับ 0.92 และ 0.88 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของการใช้อุปกรณ์วัดองศาข้อเข่าเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาเชิงพรรณนา ทดสอบทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และทดสอบทีที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมหลังได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2) ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 3) การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 48 ชั่วโมง ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และ 4) พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 48 ชั่วโมงของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมหลังการผ่าตัด และเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าหลังการผ่าตัดได้ ดังนั้นพยาบาลควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการปรับตนเองของผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด
Description: Master of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1519
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59060333.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.