Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6572
Title: The development of using START strategy to develop ability of reading comprehension for the fourth grade.
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Onoumar Hongkao
อรอุมา ห้องเข้า
Aumporn Lincharoen
เอื้อมพร หลินเจริญ
Naresuan University
Aumporn Lincharoen
เอื้อมพร หลินเจริญ
aumpornli@nu.ac.th
aumpornli@nu.ac.th
Keywords: กลวิธีสตาร์ท
ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
Start Strategy
Ability of Reading Comprehension
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to create and evaluate the efficiency of using start strategy to develop ability of reading comprehension for the fourth grade by 75/75. 2) to compare the ability of reading comprehension for the fourth grade before and after using START strategy. 3) to study learning outcomes of student between and after using start strategy to develop ability of reading comprehension. The research was done by methodology method in 2 steps.             Step 1: to create and evaluate the efficiency of using START strategy and check the appropriate of learning activities element by 3 experts the evaluate the efficiency with 3 students in the fourth grade at Banruangruk school, Uttaradit Primary Education Service Area Office 1 to check the suitable of language and time, then implement with 9 students for evaluate the efficiency of activities by 75/75             Step 2: to compare the ability of reading comprehension for the fourth grade before and after using START strategy. The simple used in this research were 22 students in the fourth grade at Banruangruk school, Uttaradit Primary Education Service Area Office 1 in the academic year 2/2022 selected by purposive sampling. The methodology method was One group Pertest – posttest Design. The instruments which used in study was 1) learning activity of using START strategy 2) an achievement test of reading comprehension. The data analyzed by using Mean, Standard Deviation, t-test dependent and E1/E2. The results of this research were as follows:             1. Learning activity by using START strategy to develop ability of reading comprehension for the fourth grade. The experts evaluated the suitable in high level X-bar = 4.79, S.D. = 0.19 and the efficiency is 76.83/75.56             2. Student in the fourth grade had the reading comprehension after learned with learning activities by using START strategy was higher than before with statistical significance at .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START)  และตรวจสอบความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านร้องลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมด้านภาษา เวลา และสื่อ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านร้องลึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า t-test แบบ dependent sample และค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตร E1/E2           ผลการวิจัยพบว่า             1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (X-bar = 4.79, S.D. = 0.19) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.83/75.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด             2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เกิดความความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้กลวิธีสตาร์ท (START) สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6572
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64091578.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.