Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6569
Title: | DEVELOPMENT OF MATHEMATICS LEARNING ACTIVITIES BASED ON OPEN APPROACH WITH SIMULATION TO FINANCIAL LITERACY FOR STUDENTS IN GRADE 6 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับ สถานการณ์จำลอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | Wantanee Thongmee วันทนีย์ ทองมี Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส Naresuan University Kobsook Kongmanus กอบสุข คงมนัส kobsookk@nu.ac.th kobsookk@nu.ac.th |
Keywords: | กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิธีการแบบเปิด สถานการณ์จำลอง ความฉลาดรู้การเงิน Mathematics Learning Activity Open Approach Simulation Financial Literacy |
Issue Date: | 6 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research were 1) to construct and verify the efficiency of learning activities based on the mathematics learning activities based on open approach with simulation to enhance financial literacy for 6th grade elementary school students as the criteria of 75/75, 2) to experiment with mathematics learning activities with an open approach combined with simulations 2.1) to compare the financial literacy before and after studying with the mathematics activities based on open approach with simulation. 2.2)to study the financial attitudes of 6th grade elementary school students after learning through mathematics learning activites based on open approach with simulation. 2.3) to study the financial behavior of 6th grade elementary school students after learning through mathematics learning activites based on open approach with simulation. The research was carried out by research and development methodology. The sample consisted of 22 6th grade elementary school students at Watklongmakluae School, The Primary Educational Service Area Office Phitsanulok 3, semester 2, academic year 2022, which were selected by purposive sampling. The research instruments consisted of 1) the mathematics learning activities based on open approach with simulation, 2) the financial literacy test. Data were analyzed by using mean, standard deviation, percentage, and t-test.
The results showed that;
1. The mathematics learning activities based on open approach with simulation to enhance financial literacy for six grade students had an efficiency of was 77.13/78.13, which met the criteria.
2. The result of the experiment using mathematics activities based on open approach with simulation to financial literacy for sixth-grade elementary school students.
2.1 The six grade students had the financial literacy after studying with the mathematics learning activities based on open approach with simulation to financial literacy for six grade students which was higher than before studying at statistical significance at the .05 level.
2.2 The average score of sixth-grade elementary school students' financial attitudes is 43.86 with a standard deviation of 0.53.
2.3 The average score of sixth-grade elementary school students' financial behaviors is 49.55 with a standard deviation of 0.91. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง 2.1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทางการเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง 2.2) เพื่อศึกษาเจตคติทางการเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง 2.3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดคลองมะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลองและแบบวัดความฉลาดรู้การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.13/78.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลอง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ทางการเงิน หลังการได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการแบบเปิดร่วมกับสถานการณ์จำลองสูงกว่าก่อนการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติทางการเงินเท่ากับ 43.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 2.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมทางการเงินเท่ากับ 49.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.91 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6569 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64091257.pdf | 5.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.