Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6567
Title: LEARNING MANAGEMENT BY USING AKITA ACTION TO ENHANCE MATHEMATICAL DISCUSSIONS AND DEVELOP REFLECTION LEVEL ON RATIO PROPORTION AND PERCENT OF SEVENTH GRADE STUDENTS
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์และพัฒนาระดับการสะท้อนคิด เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Natthawan Dawnan
ณัฐวรรณ ดาวนันท์
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
Naresuan University
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
artornn@nu.ac.th
artornn@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดล, ความสามารถ ในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์, ระดับการสะท้อนคิด, อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ
Akita action Mathematical discussions Reflection level Ratio proportion and percent
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study 1) the appropriate learning management by using akita action to enhance mathematical discussions and develop reflection level 2) the effect of learning management by using akita action on grade 7 students’ mathematical discussions 3) the effect of learning management by using akita action on grade 7 students’ reflection level. The participants were 30 students in grade 7 who studied in the second semester of the 2022 from big school in Nan province, Thailand. The experimental time to conduct this study is 12 hours. The instruments used in this research include  4 lesson plans, learning activity sheets, reflective learning management form, mathematics discussion observation form and mathematics discussion test. Using content analysis and the results of the study showed that learning management by using Akita action to enhance mathematical discussions and develop reflection level should focused on selecting problems with various solution, using open-end question to motivate students for discuss and build students to have knowledge for used to find solution. Summary of content and learning method for connect goal of learning and student can reflection their idea by writing in learning record form. It develop mathematical discussion in good level up and develop reflection level of most students. And 40 percent of students had critical thinking level, 36.67 percent of students had reflect thinking level and 23.33 percent of students had understanding level.
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดลในเรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ 3) เพื่อศึกษาระดับการสะท้อนคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดล เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ผู้เข้าร่วมการศึกษาค้นคว้าอิสระคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน โดยใช้เวลาทั้งหมด 11 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดล จำนวน 4 แผน ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการอภิปรายทางคณิตศาสตร์แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบวัดความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกประเด็น โดยผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์และพัฒนาระดับการสะท้อนคิด เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประเด็นที่ควรเน้น คือ ครูควรสร้างสถานการณ์ปัญหาที่มีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ มีการใช้คำถามกระตุ้นที่เป็นปลายเปิดเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและสร้างให้เกิดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการหาวิธีการแก้ปัญหา และสรุปทบทวนเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ และเพื่อให้นักเรียนได้สะท้อนความคิดของตนเองโดยการเขียนสรุปในแบบบันทึกการเรียนรู้ ซึ่งผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเชิงรุกแบบอะคิตะโมเดลทำให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 องค์ประกอบอยู่ในระดับดีขึ้นไป และพัฒนาระดับการสะท้อนคิดของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณคิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมา คือ ระดับสะท้อนคิด โดยคิดเป็นร้อยละ 36.67 และระดับเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 23.33
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6567
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64090489.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.