Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6555
Title: ORGANIZING SQ4R LEARNING ACTIVITIES IN CONJUNCTION WITH READING ALOUD SKILLS EXERCISES TO DEVELOP THAI READING ALOUD SKILLS FOR STUDENTS IN GRADE 4
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Suwat Tasu
สุวัฒน์ ต๊ะสุ
Namthip Ongrardwanich
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์
Naresuan University
Namthip Ongrardwanich
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์
namthipo@nu.ac.th
namthipo@nu.ac.th
Keywords: การอ่านออกเสียง
แบบฝึกทักษะ
วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R
แบบพึงพอใจ
Reading aloud
Skill practice
Management method of learning SQ4R
Satisfaction
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) Develop a SQ4R learning management plan combined with reading aloud skills practice. to develop Thai reading aloud skills for students Grade 4 2) Compare the proficiency in reading Thai aloud before and after learning of Mathayomsuksa 4 students by using SQ4R learning activities together with reading skills exercises. 3) Study the satisfaction of Mathayomsuksa 4 students towards the use of reading aloud skills exercise by SQ4R learning activities. The population used in this research were Mathayomsuksa 4 students in the second semester of the academic year 2022 at Ban Mae Usu Witthaya School. Tha Song Yang District, Tak Province, under the Tak Primary Educational Service Area Office 2, 3 classrooms with a total of 74 students. The sample group used in this research is a student in grade 4/1, semester 2, academic year 2022, Ban Mae Usu Wittaya School Tha Song Yang District, Tak Province, under the Tak Primary Educational Service Area Office 2, 1 classroom, total 28 students Obtained by simple random sampling method by lottery method The classroom was used as a unit of sampling. Tools used in the research 1) Learning management plan using the SQ4R learning management method combined with Thai reading aloud skills exercises 2) Pre-learning test 3) A questionnaire for assessing students' satisfaction with learning management using the SQ4R learning management method combined with a Thai reading aloud skill practice.  The results showed that 1. The results of determining the suitability of the elements of the SQ4R learning management plan together with the use of the reading aloud skill exercise. to develop Thai reading aloud skills For Mathayomsuksa 4 students, let experts review the consistency. After the researcher has completed the learning management plan, the learning management plan has been brought to the experts for consideration. Modify to be more appropriate. Consistency of the tool (IOC) with the consistency index of the opinion questionnaire equal to 0.80 and the level of suitability in the components of the learning plan at the highest level ( Average= 4.69, S.D. = 0.26). 2. The comparative results of reading aloud Thai language ability before and after school of Mathayomsuksa 4 students by using SQ4R learning activities combined with Thai reading aloud skills practice. Before learning, the mean score was 7.68 points and the standard deviation (S.D.) was 4.25. and the post-learning scores had an average score of 12.07 points and a standard deviation (S.D.) of 5.50, respectively. Statistically significant at the .05 level. 3. The results of satisfaction of Mathayomsuksa 4 students towards the use of reading aloud skills practice by organizing SQ4R learning activities were overall satisfaction at the highest level (Average= 4.26 , S.D. = 0.52)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านแม่อุสุวิทยา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 74 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านแม่อุสุวิทยา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 28 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Unit of Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดและประเมินความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาไทย 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาความสอดคล้อง หลังจากผู้วิจัยได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้วได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) โดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามความคิดเห็นเท่ากับ 0.80 และมีระดับความเหมาะสมในองค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย  = 4.69, S.D. = 0.26) 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.68 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.25 และคะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.07 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.50 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า คะแนนสอบหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.26, S.D. = 0.52)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6555
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64091493.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.