Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6533
Title: NEEDS AND DEVELOPMENTS OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE PHRAE
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
Authors: Jitsupa Sarapun
จิตสุภา สารพันธ์
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
Naresuan University
Tussana Siputta
ทัศนะ ศรีปัตตา
tatsanas@nu.ac.th
tatsanas@nu.ac.th
Keywords: ความต้องการจำเป็น
แนวทางการพัฒนา
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Need
Developments
Transformational Leadership
Issue Date:  6
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to study the needs and guideline of transformational leadership development for administrators under Phrae Secondary Educational Service Area Office. The study was separated into 2 phases. Firstly, the needs of transformational leadership development for administrators under Phrae Secondary Educational Service Area Office was collected by a questionnaire, involved 4 aspects as follows: 1) Idealized influence, 2) Inspiration Motivation, 3) Intellectual Stimulation and 4) Individualized Consideration. The sample of this research consisted of 254 administrators and teachers. The sample sizes was using Krejcie & Morgan’s table and acquired by stratified random sampling method based on proportion in each school.The statistics of data were analysed by mean, standard deviation and the priority need of index modified (PNI(modified)). Phase 2 was to study the guideline of transformational leadership development for administrators under Phrae Secondary Educational Service Area Office with 4 expert interviews. The result showed that:                                                                                     1. The result of needs of transformational leadership development for administrators under Phrae Secondary Educational Service Area Office was 0.181. The highest PNI was intellectual stimulation aspect. However, the lowest was individualized consideration.                                                         2. The guidelines for the development of transformational leadership of school administrators under Phrae Secondary Educational Service Area Office were studied in 4 aspects: 1) Idealized influence was found that school administrators should be a positive perspective and morals. 2) Inspiration Motivation was found that the administrators of the educational institutes should have good human relations, build a strong corporate culture, be a good role model. 3) Intellectual Stimulation was found that educational institution administrators should analyze the abilities of subordinate according to individual potential. 4) Individualized Consideration was found that school administrators should pay attention to individual personnel, understand the nature of people.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ โดยวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 2. ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 3. ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ 4. ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 254 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตามสัดส่วนของแต่ละโรงเรียนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ ข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า                                                                                                   1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ ในภาพรวมเท่ากับ 0.181  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ส่วนด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำสุด                           2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีมุมมองเชิงบวก มีหลักการและคุณธรรม 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เป็นแบบอย่าง ที่ดี 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรวิเคราะห์ศักยภาพบุคลากร คำนึงถึงความสมัครใจในการมอบหมายงาน 4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรเอาใจใส่บุคลากรเป็นรายบุคคล เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ ของคน                                                                                                                    
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6533
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64070221.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.