Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6432
Title: | The Development of Learning Agility Indicators for Graduate Students การพัฒนาตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา |
Authors: | SASIWIMON SRINUAN ศศิวิมล ศรีนวล Nattakan Prechanban ณัฐกานต์ ประจันบาน Naresuan University Nattakan Prechanban ณัฐกานต์ ประจันบาน nattakanp@nu.ac.th nattakanp@nu.ac.th |
Keywords: | ตัวบ่งชี้ ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ Indicator Learning Agility |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objective of this research was to develop the learning agility indicators for graduate students, and to check the structural straightness learning agility indicators for graduate students. The informants in the development of indicators were 3 experts in the field of educational research and assessment, 2 experts in the field of educational administration and development, and 2 experts in the curriculum and teaching field. The sample consisted of 280 graduate students in higher education institutions in Thailand from 4 institutions in 4 regions, obtained by multistage random sampling. The collection data instrument include, a suitability assessment of learning agility components and indicators for graduate students, and a measure of learning agility for graduate students. The data was analyzed using Second Order Confirmatory Factor Analysis.
The major findings revealed as follows:
1. The learning agility of graduate students consisted of 5 components and 14 indicators as follows: The mental agility component consists of three indicators: positive thinking; Creativity and Critical Thinking. The people agility component consists of two indicators: interpersonal relationships and emotional resilience. The change agility component consists of three indicators: readiness for change, curiosity, and self-improvement. The result agility component consists of three indicators: effectiveness, work motivation, and work adaptability, and the self-awareness component consists of three indicators: self-emotional awareness, realistic self-assessment and self-confidence.
2. The developed model had the statistical values obtained from the analysis as follows: Chi-Square = 48.108, P = 0.2072, df = 41, CFI = 0.994, TLI = 0.997, SRMR = 0.025 and RMSEA = 0.025 This implied that the model created was consistent with the empirical data. The factor loading values were 0.592 - 0.966 and were statistically significant at the .05 level, indicating that the developed model met the criteria of the construct validity. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษาและเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาตัวบ่งชี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญในสาขาหลักสูตรและการสอน 2 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 4 ภูมิภาค จาก 4 สถาบัน รวม 280 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา และแบบวัดความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านความคิด ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การคิดเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านบุคคล ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความยืดหยุ่นทางอารมณ์ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ความใฝ่รู้ และการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ประสิทธิผล แรงบันดาลใจในการทำงาน และการปรับตัวในการทำงาน และองค์ประกอบการตระหนักรู้ในตนเอง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การรับรู้อารมณ์ตนเอง การประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง และความมั่นใจในตนเอง 2. โมเดลที่สร้างขึ้นมีค่าสถิติที่ได้จากการวิเคราะห์ ดังนี้ Chi-Square = 48.108, P = 0.2072, df = 41, CFI = 0.994, TLI = 0.997, SRMR = 0.025 และ RMSEA = 0.025 หมายความว่า โมเดลที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.592 - 0.966 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า โมเดลที่สร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6432 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63090947.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.