Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6431
Title: THE EFFECTS OF MATHEMATICS LEARNING ACTIVITIES BASED ON MATHEMATICAL ARGUMENTATION MODEL ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING AND MATHEMATICAL COMMUNICATION IN VOLUME AND CAPACITY OF A RECTANGULAR SHAPE OF GRADE 5 STUDENTS
ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: WIRAMON SONKOM
วิรมน ศรคม
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
Naresuan University
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
wanintorns@nu.ac.th
wanintorns@nu.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ความสามารถในการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
mathematical argument model
mathematical problem solving
mathematical communication
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) study  learning implemantation using a mathematical argumentation model to promote mathematical problem solving abilities and mathematical communication abilities in subject area of the volume and capacity of rectangular shapes, and to 2) study the mathematical problem solving abilities and mathematical communication abilities of students after learning activities using a mathematical argument model in subject area of the volume and capacity of rectangular shapes. This research used a classroom action research model. The participants were 15 students in grade 5. The research instruments were 1) lesson plans, 2) worksheets,  3) test of mathematical problem solving and mathematical communication and 4) observation form. Data were analyzed by content analysis and check for the trustworthiness of the data by methodological triangulation. The results ravealed that 1) Learning implementation using  a mathematical argumentation model that promotes mathematical problem solving abilities and mathematical communication abilities should be highlighted, in preparing of basic knowledge to students in a variety of ways, consistently using  provoking questions with students and student participation. In addition, the problem situations should be challenged and various solutions to the problems. 2) Most students had increasingly developed mathematical problem solving abilities and mathematical communication abilities after learning through a mathematical argumentation model in subject area of the volume and capacity of rectangular shapes.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมาย เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ใบกิจกรรม 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสังเกตความสามารถในการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีประเด็นควรเน้น ได้แก่ การทบทวนความรู้พื้นฐานให้แก่นักเรียนโดยสามารถใช้วิธีที่หลากหลาย การใช้คำถามกระตุ้นคิดกับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมของนักเรียน อีกทั้งสถานการณ์ปัญหาที่ครูกำหนดต้องมีความท้าทาย และมีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย  2) นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6431
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090909.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.