Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6424
Title: The Development of English Reading Comprehension using KWL-Plus technique with the local supplementary reading material of Sukhothai for Grade 11 students at Krainaiwittayakhom Rachamangkhalapisek School, Sukhothai Province
การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จังหวัดสุโขทัย
Authors: MATSARIN CHUMINJAK
มัสริน ชุ่มอินจักร์
Suphornthip Thanaphatchottiwat
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต
Naresuan University
Suphornthip Thanaphatchottiwat
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต
suphornthipt@nu.ac.th
suphornthipt@nu.ac.th
Keywords: การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus, บทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย
Reading Comprehension / KWL - Plus technique/ The local supplementary reading material of Sukhothai
Issue Date:  3
Publisher: Naresuan University
Abstract:   The purposes of this research were to: 1) identify efficiency by using KWL-Plus technique with local supplementary reading materials to improve English reading comprehension for Grade-11 students; 2) compare pre-test and post-test achievement by using KWL-Plus technique with the local supplementary reading material to improve English reading comprehension for Grade-11 students; 3) study students’ satisfaction towards the KWL-Plus technique with the local supplementary reading materials for Grade-11 students. The study was experimental research that utilized One Group Pretest Posttest Design. The sample consisted of 25 Grade-11 students studying at Kranaiwittayakom Rachamangkhalaphisek school, Sukhothai Secondary Educational Service Area Office, Kong Krailat District, Sukhothai Province. The research instruments consisted of: 1) KWL-Plus technique with the local supplementary reading material; 2) 3 local supplementary reading materials, or passages; 3) pre-test and post-test; and 4) students’ satisfaction assessment form. Data were analyzed using efficiency (E1), overall efficiency (E2), mean, standard deviation, T-test statistics, Significance level, Frequency, Percentage, Standard Deviation and Effectiveness Index. The findings showed that: 1) The efficiency applying KWL-Plus technique with local supplementary reading materials to improve Grade-11 students’ English reading comprehension was E1=91.74 and E2=81.39. After learning, the students' scores increased 70.95%; 2) According to the comparison of pre-test and post-test achievement of English reading comprehension using KWL-Plus technique with local supplementary reading materials, the students' post-test scores were significantly higher than the pre-test ones at the .05 level; 3) From the result of assessing students' satisfaction towards the KWL-Plus technique with the local supplementary reading material, the students’ satisfaction was generally high ( Mean= 3.9, S.D. = 0.06).
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยดำเนินการทดลองก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย (2) บทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพของผลโดยรวม (E2) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผลผลการวิจัยพบว่า (1) การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ คือ E1=91.74 และ E2=81.39 และหลังการเรียนโดยใช้นวัตกรรม ผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.95 (2) จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) จากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับบทอ่านที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย= 3.9, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.06) คือ ด้านการวัดและประเมินผล
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6424
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090763.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.