Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6365
Title: | The Preparation for Curriculum Administration on Competency Based of School Educational Opportunity Expansion Schools under the Office of Phichit Primary Education Service Area 1 การเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 |
Authors: | NARISSARA MAKMEE นริศรา มากมี Thirasak Uppamaiathichai ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย Naresuan University Thirasak Uppamaiathichai ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย thirasaku@nu.ac.th thirasaku@nu.ac.th |
Keywords: | การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรฐานสมรรถนะ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา Preparation for Curriculum Administration Competency Based Curriculum Education Opportunity Expansion Schools |
Issue Date: | 3 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This study aimed to study guidelines for the preparation for curriculum administration on competency-based and examine operational feasibility of guidelines for the preparation for curriculum administration on competency-based of educational opportunity expansion schools under the office of Phichit Primary Educational Service Area 1. The first step was to study guidelines for the preparation for curriculum administration on competency-based. The informants were 5 experts. The in-depth interview was used for collecting information. The data were statistically analyzed using content analysis. The second step was to study operational feasibility. The samples were 226 school administrators and teachers who work in educational opportunity expansion schools under the office of Phichit Primary Education Service Area 1 by Stratified Random Sampling method. There were 16 school administrators and 210 teachers. The research instrument was a questionnaire. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation.
Results showed that:
1. Guidelines for the preparation for curriculum administration on competency-based of educational opportunity expansion schools under the office of Phichit Primary Education Service Area 1 were 17 approaches as following; 4 approaches of course preparation, 5 approaches of curriculum organization, 3 approaches of curriculum implementation, and 5 approaches of curriculum evaluation.
2. Operational feasibility of guideline for the preparation for curriculum administration on competency-based of educational opportunity expansion schools under the office of Phichit Primary Education Service Area 1 had overall scores in the high level. When considering each aspect, the highest score was Curriculum Organization and the lowest score was Curriculum Evaluation. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ และเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของแนวทางเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 โดยวิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 226 คน ด้วยวิธีการการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แบ่งเป็นผู้บริหารจำนวน 16 คน ครูผู้สอนจำนวน 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวทางเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 1 พบว่า มีทั้งหมด 17 แนวทาง แบ่งออกเป็น ด้านการจัดทำหลักสูตร 4 แนวทาง ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตร 5 แนวทาง ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ 3 แนวทาง และด้านการประเมินหลักสูตร 5 แนวทาง 2. ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของแนวทางเตรียมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 1 พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการจัดทำหลักสูตร และด้านที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการประเมินหลักสูตร |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6365 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63070369.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.