Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6354
Title: THE MODEL FOR DEVELOPING KINDERGARTEN TEACHER COMPETENCY TO PROMOTE KINDERGARTEN STUDENT’S EXECUTIVE FUNCTION SKILL IN PRIVATE SCHOOL
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน
Authors: Irada Numrith
ไอรฎา นุ่มฤทธิ์
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
Naresuan University
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
sathirapornc@nu.ac.th
sathirapornc@nu.ac.th
Keywords: การพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย
ทักษะทางสมอง
โรงเรียนเอกชน
Developing Kindergarten Teacher
Executive Function Skill
Private School
Issue Date:  19
Publisher: Naresuan University
Abstract: The main objective of this research is to develop a model for developing the competencies of early childhood teachers to promote experiences that focus on early childhood brain skills in private schools. The research method is divided into 3 steps: Step 1: Study of competencies and guidelines for developing competencies of early childhood teachers to promote experiences that focus on early childhood brain skills. in private schools It is divided into 3 sub-steps: Step 1.1 Studying the competency of early childhood teachers to promote experiences that emphasize brain skills of early childhood children in private schools. By asking administrators, teachers, and personnel of private schools in the system. where education is organized at the early childhood level In the lower northern provinces, 9 provinces, a total of 364 people. Step 1.2 Study of guidelines for developing the competency of early childhood teachers to promote the provision of experiences that emphasize the brain skills of early childhood children in private schools. By studying 3 schools that have good practices (Best practice), and step 1.3, studying guidelines for developing the competency of early childhood teachers to promote experiences that focus on early childhood brain skills in private schools. By interviewing 5 experts. Step 2: The results of creating and checking the appropriateness of the model for developing competency of early childhood teachers to promote experiences that emphasize the brain skills of early childhood children in private schools, consisting of 2 sub-steps. Step 2 2.1 Drafting the model and section 2.2 Checking the appropriateness of the model by having a group discussion with 9 experts and step 3, evaluating the feasibility and usefulness of the model for developing the competency of early childhood teachers to promote experiences that emphasize the brain skills of early childhood children in private schools. Director of a private school where early childhood education is organized in the lower northern region, 9 provinces, a total of 140 people. The research results found that the model for developing the competencies of early childhood teachers to promote experiences that emphasize the brain skills of early childhood children in private schools consists of 3 components: Component 1: The process of developing the competencies of early childhood teachers to promote the provision of experiences that emphasize the brain skills of early childhood children. In private schools, it consists of 4 steps: assessment of needs for competency development; Competency development planning Implementation of competency development and evaluation of competency development Component 2: Methods for developing the competencies of early childhood teachers to promote experiences that emphasize the brain skills of early childhood children in private schools, consisting of 6 methods: workshops Using case studies Using the problem as the basis collaborative work planning Learning from work and exchange of opinions And the third component is competency of early childhood teachers to promote experiences that focus on early childhood brain skills in private schools. It consists of 3 competencies: basic knowledge competency about early childhood brain skills. Developmental competencies that promote brain skills in early childhood and competency as a professional early childhood teacher. Results of evaluating the feasibility and usefulness of the model for developing early childhood teacher competencies to promote experiences that emphasize early childhood brain skills in private schools. Private educational institution administrators Under the Office of the Private Education Commission In the lower northern region, 9 provinces were of the opinion that it was possible and beneficial at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นย่อย ขั้นที่ 1.1 การศึกษาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน โดยสอบถามผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนเอกชนในระบบ ที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด จำนวน 364 คน ขั้นที่ 1.2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน โดยการศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best practice) จำนวน 3 โรงเรียน และขั้นที่ 1.3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 2 ขั้นย่อย ขั้นที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบฯ และส่วนที่ 2.2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน  ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน ที่มีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด จำนวน 140 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินความต้องการการพัฒนาสมรรถนะ การวางแผนการพัฒนาสมรรถนะ การดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และการประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะ องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 6 วิธี ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้กรณีศึกษา การใช้ปัญหาเป็นฐาน การวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน การเรียนรู้จากการทำงาน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และองค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย สมรรถนะการเสริมสร้างพัฒนาการที่ส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย และสมรรถนะการเป็นครูปฐมวัยมืออาชีพ ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด มีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6354
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63031568.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.