Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6333
Title: | “ Nitirat Phenomenon” Ideological Movement and Political impact from Counter-Hegemony to judicialization after 2006 “ปรากฎการณ์นิติราษฎร์” : ขบวนการทางอุดมการณ์ กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการโต้กลับการครองอำนาจนำของระบอบตุลาการภิวัฒน์หลัง พ.ศ. 2549 |
Authors: | Jaturong Suthwan จาตุรงค์ สุทาวัน Weera Wongsatjachock วีระ หวังสัจจะโชค Naresuan University Weera Wongsatjachock วีระ หวังสัจจะโชค weeraw@nu.ac.th weeraw@nu.ac.th |
Keywords: | นิติราษฎร์ , ผลสะเทือน , ตุลาการภิวัฒน์ Nitirath Political Impact Judicialization of Politics |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aims to present the political role and analyze the interaction between the "judicialization of politics regime" as the creator of hegemony and the "Nitirat group" as a counter-hegemony. It begins by questioning the social movements' uprising in 2020, which shows certain connections to the Nitirat group. This connection stems from the revival of the ideals of the 1932 Siamese Revolution by the People's Party, which started in 2006. Additionally, it highlights that both groups emerged in opposition to state power, particularly against the so-called "judicialization of politics regime." Thus, revisiting the Nitirat group's political movements in their initial resistance to the judicialization of regime could provide insights into the ongoing conflict between the state and social movements today.
The study finds that the hegemony of the judicialization of politics regime, which emerged in 2006, did not arise solely from mainstream discourses or academic works. Instead, it was deliberately constructed through the collaboration of various political forces that used the judicialization of politics regime to maintain political power. After successfully establishing itself following the 2006 coup, the regime was challenged by the Nitirat group. Although their proposals were initially not accepted, their political allies evolved into new movements that had significant political impacts. For example, the Nitirat group brought the issue of Article 112 of the Criminal Code into the public domain (sensitizing impact), and their demands gradually gained more positive public responses. Despite the continuation of the Nitirat group's ideological influence by the 2020 social movements following the dissolution of the Future Forward Party, a significant negative impact remains: the publicization of Article 112 has not led to a reduction in its enforcement. Similarly, the Thai judicialization of politics regime continues to show signs of persistence in the political landscape. งานวิจัยนี้มุ่งนำเสนอบทบาททางการเมืองและบทวิเคราะห์ด้านปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างระบอบตุลาการภิวัฒน์ในฐานะผู้สร้างการครองอำนาจนำ (hegemony) และขบวนการนิติราษฎร์ในฐานะผู้ท้าทาย (Counter hegemony) โดยเริ่มจากการตั้งคำถามต่อการลุกฮือของขบวนการทางสังคมใน พ.ศ. 2563 ที่ปรากฎร่องรอยความเชื่อมโยงบางประการกับคณะนิติราษฎร์ อันเกิดจากกระแสการรื้อฟื้นอุดมคติแห่งการปฏิวัติสยามของ”คณะราษฎร 2475”ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ทั้งยังเป็นการชี้ว่ากลุ่มพลังทั้งสองต่างมีที่มาในการต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในลักษณะเดียวกันที่เรียกว่า “ตุลาการภิวัฒน์” ด้วยเหตุนี้การย้อนกลับไปศึกษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคณะนิติราษฎร์ในการต่อต้านระบอบตุลาการภิวัฒน์ในบริบทเริ่มต้น ผลสะเทือนจากปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเป็นการตอบคำถามสำคัญในความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐและขบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่า การครองอำนาจนำของระบอบตุลาการภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2549 นั้นกลับมิได้เกิดขึ้นในจากวาทกรรม (discourse) หรืองานวิชาการกระแสหลักที่สร้างขึ้นเท่านั้น แต่ค่อยๆถูกประกอบสร้างขึ้นอย่างจงใจ โดยเป็นผลจากความร่วมมือของกลุ่มพลังทางการเมืองอันหลากหลายที่ใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อรักษาอำนาจนำทางการเมือง และเมื่อลงหลักปักฐานหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ได้สำเร็จ จึงถูกท้าทายโดยกลุ่มพลังจากคณะนิติราษฎร์ ที่แม้ว่าข้อเสนอของพวกเขาจะไม่ได้รับการตอบรับในบริบทเริ่มต้น แต่กลุ่มพันธมิตรทางการเมืองดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนเป็นกลุ่มพลังรุ่นใหม่ๆที่ส่งผลสะเทือนทางการเมืองในหลายกรณี เช่น การทำให้ประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าสู่พื้นที่สาธารณะ (sensitizing impact) และข้อเรียกร้องได้รับผลตอบรับในเชิงบวกมากขึ้น (public attitudes) แม้ส่วนหนึ่งร่องรอยทางความคิดของกลุ่มพลังนิติราษฎร์จะถูกขับเคลื่อนต่อโดยขบวนการทางสังคมใน พ.ศ. 2563 หลังจากพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ แต่จะเห็นได้ว่าผลสะเทือนที่เกิดขึ้นในเชิงลบอย่างสำคัญคือ การทำให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าสู่พื้นที่สาธารณะกลับไม่ทำให้การใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวลดน้อยลง เช่นเดียวกับระบอบตุลาการภิวัฒน์แบบไทยยังคงมีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้เสมอ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6333 |
Appears in Collections: | คณะสังคมศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63031223.pdf | 6.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.