Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6287
Title: | แบบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน Competency Model of Hybrid Working for Supporting Personnel of the University |
Authors: | Kasidit Theppawan กษิดิศ เทพวัลย์ Varinthorn Boonying วรินทร บุญยิ่ง Naresuan University Varinthorn Boonying วรินทร บุญยิ่ง Varinthornb@nu.ac.th Varinthornb@nu.ac.th |
Keywords: | สมรรถนะ การทำงานแบบไฮบริด บุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน Competency Hybrid working Supporting personnel of the university |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research study in title of competency model of hybrid working for supporting personnel of the university were as followed: (1) to study, analyze, and synthesize both abilities and competency components required for hybrid working among supporting personnel of the university using the qualitative research approach. This was involved in review literature and focus group discussion with 26 supporting personnel of the university members, working across four sectors according to the university missions including graduate production, research, academic service, and art and cultural preservation. The research discussion question tool was evaluated and revised by five experts in this field. Additionally, (2) to develop and validate a competency model of hybrid working for supporting personnel of the university. The evaluation and suggestions were used as the research tool. All data values were statistically analyzed and presented using the mean and standard deviation.
The competency model was developed with three main sections, including competency titles, competency definitions, and competency levels. It then submitted for evaluation by five academic specialists. The assessment results revealed a high level of appropriateness and possibility for a competency model of hybrid working for supporting personnel of the university (x̄ = 4.40 with S.D.= 0.63). The six competency groups were classified as follows:
(1) Self – Leadership, (2) Learning and Self – Development, (3) Innovation and Creativity, (4) Teamwork and Co-operation, (5) Professional service and (6) Digital competencies. การวิจัยเรื่อง แบบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ สมรรถนะและองค์ประกอบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและสนทนากลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน 4 กลุ่ม ตามพันธกิจมหาวิทยาลัย ได้แก่ ด้านผลิตบัณฑิต ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 26 คน เครื่องมือเป็นแบบประเด็นคำถามสนทนากลุ่ม ผ่านการปรับแก้โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และ (2) เพื่อสร้างและตรวจสอบแบบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน เครื่องมือเป็นแบบประเมินและข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสร้างแบบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ชื่อสมรรถนะ (2) คำจำกัดความสมรรถนะ และ (3) ระดับของสมรรถนะ ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแบบสมรรถนะการทำงานแบบไฮบริดสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.40) (S.D.= 0.63) ประกอบด้วย 6 กลุ่มสมรรถนะ ดังนี้ (1) สมรรถนะด้านภาวะผู้นำในตนเอง (2) สมรรถนะด้านการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง (3) สมรรถนะด้านนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (4) สมรรถนะด้านทีมงานและความร่วมมือ (5) สมรรถนะด้านการบริการอย่างมืออาชีพ และ(6) สมรรถนะด้านดิจิทัล |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6287 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KasiditTheppawan.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.