Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6232
Title: | การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL READING ABILITIES REGARDING THE KING RAM KHAMHAENG INSCRIPTION OF MATTHAYOMSUKSA 2 STUDENTS BY USING AKITA ACTION LEARNING MANAGEMENT WITH MULTIMEDIA |
Authors: | Kamonluk Tanunchai กมลลักษณ์ ทนันไชย Songphop Khunmathurot ทรงภพ ขุนมธุรส Naresuan University Songphop Khunmathurot ทรงภพ ขุนมธุรส songphopk@nu.ac.th songphopk@nu.ac.th |
Keywords: | การอ่านวิเคราะห์ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะ สื่อมัลติมีเดีย ศิลาจารึกหลักที่ 1 ANALYTICAL READING AKITA ACTION LEARNING MANAGEMENT MULTIMEDIA THE KING RAM KHAMHAENG INSCRIPTION |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research are to 1) develop the learning management aimed at cultivating the analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng Inscription of Matthayomsuksa 2 students by using AKITA action learning management with multimedia with the goal to achieve 80/80 criteria, 2) compare the analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng Inscription of Matthayomsuksa 2 students before and after using AKITA action learning management with multimedia, and 3) examine the Matthayomsuksa 2 students’ satisfaction towards the learning management aimed at cultivating the analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng Inscription using AKITA action learning management with multimedia. The population were 413 of Matthayomsuksa 2 students from 11 classes taking the first semester of 2024 at Strisrinan school, Nan province. The samples consisted of 40 Matthayomsuksa 2/3 students, selected by the cluster random sampling method. The instruments used were 1) the lesson plans regarding AKITA action learning management with multimedia, 2) the analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng Inscription tests assessing, and
3) the satisfaction survey towards the abovementioned learning management. The statistical data analyses included an average and standard deviation. The statistical hypothesis testing included dependent sample t-test and one sample t-test.
The results of the study showed that:
1. The effectiveness of the learning management aimed at cultivating
the analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng Inscription
of Matthayomsuksa 2 students by using AKITA action learning management with
multimedia was 81.64/80.42, which meets the set criterion (80/80).
2. The analytical reading abilities regarding The King Ram Khamhaeng
Inscription of Matthayomsuksa 2 students after taking the learning management was
significantly higher than before taking the learning management; the statistical rate was at .05 level.
3. The overall satisfaction of Matthayomsuksa 2 students towards the
learning management aimed at cultivating the analytical reading abilities regarding
The King Ram Khamhaeng Inscription by using AKITA action learning management
with multimedia was at the highest rate and significantly higher than the criteria at the rate of 0.5 level. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถ การอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนา ความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีศรีน่าน จังหวัดน่าน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 11 ห้องเรียน รวม 413 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะ ที่ใช้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) แบบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึก หลักที่ 1 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะ ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.64/80.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนา ความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6232 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KamonlukTanunchai.pdf | 4.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.