Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6214
Title: | การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 Development of learning management using mathematical models To promote the ability to discussion mathematics on length measurement for Grade 3 students |
Authors: | Ornouma Chinmala อรอุมา ชินมาลา Namthip Ongrardwanich น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ Naresuan University Namthip Ongrardwanich น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ namthipo@nu.ac.th namthipo@nu.ac.th |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ Learning Management Mathematical Model Ability To Discussion Mathematics |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objectives of this research are to 1) study approaches to learning management using simulations. Mathematics that promotes the ability to discuss mathematics on length measurement. For Grade 3 students 2) Study the mathematical discussion ability of Grade 3 students who received learning management using mathematical models. The research participants are Grade 3 students, semester 2, academic year 2023, of a small school in Phetchabun Province, 6 students, which were obtained from purposive selection. The research tools were learning plans using mathematical models. Subject: Measuring length, reflection form on learning activities, activity sheet, mathematical discussion observation form and a test of mathematical discussion ability was subjective, with 4 items, with a consistency index of 0.67-1.00 There is a difficulty value for each item of the test ranging from 0.5-0.75, a discriminatory power value for each item from 0.47-0.67, and the reliability value of the entire test is equal to 0.8. Data were analyzed using content analysis. Thematic scoring and triangulation.
The results revealed that : 1) Guidelines for organizing learning using mathematical models to promote the ability to discuss mathematics on length measurement. For Grade 3 students, there is an issue that should be emphasized, namely designing real-life problem situations that are close to them. It provides a variety of problem solving methods for students to engage in mathematical discussions. Thought-provoking questions are used to lead to brainstorming and collaborative discussion. Exchange knowledge together to find ideas or solutions to various problems. There is a review of basic knowledge leading to problem solving and then deciding on ideas to implement the solution. Encouraging students to examine the results of applying mathematical concepts, presenting the results of situations in order to connect the learning goals. 2) Mathematics discussion ability of Grade 3 students. Received learning management using mathematical models during learning. Most of the students had the ability to discuss all 4 elements of mathematics at an excellent level. But after learning, the students took a test of their ability in Mathematics discussions revealed that most students had excellent abilities in all three components: 1) presenting ideas and giving reasons to support their own ideas, 2) providing evidence to support ideas, 3) arguing against different ideas and Give reasons to support your argument. But most students have a good level of ability in 4) giving reasons to support others' ideas. Therefore, organizing learning using mathematical models helps promote the mathematical discussion ability of primary school students 3 stories about measuring length. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 6 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 9 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้, แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, ใบกิจกรรม, แบบสังเกตการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 มีค่าความยากง่ายของข้อสอบรายข้อตั้งแต่ 0.5-0.75 มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อตั้งแต่ 0.47-0.67 และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การให้คะแนนแบบแยกประเด็น และการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประเด็นที่ควรเน้น คือ การออกแบบสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริงที่ใกล้ตัว โดยมีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิดเพื่อนำไปสู่การระดมสมองและอภิปรายร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวคิดหรือวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย โดยมีการทบทวนความรู้พื้นฐานนำไปสู่การแก้ปัญหาแล้วจึงตัดสินใจเลือกแนวคิดเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา การกระตุ้นให้นักเรียนตรวจสอบผลลัพธ์การประยุกต์ใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ นำเสนอผลลัพธ์ของสถานการณ์เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในระหว่างการจัดการเรียนรู้ นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 องค์ประกอบอยู่ในระดับดีเยี่ยมแต่หลังจากการเรียนรู้นักเรียนได้ทำแบบทดสอบความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับดีเยี่ยมทั้ง 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) การเสนอความคิดและให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดของตนเอง 2) การให้หลักฐานสนับสนุนแนวคิด 3) การโต้แย้งแนวคิดที่แตกต่างและให้เหตุผลสนับสนุนการโต้แย้งแนวคิด แต่นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับดีในด้าน 4) การให้เหตุผลสนับสนุนแนวคิดของผู้อื่น ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การวัดความยาวได้ |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6214 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
OrnoumaChinmala.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.