Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6213
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves ที่มีต่อทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Developing Learning Activities using Activity Based Learning with Math Talk Moves Techniques for Enhancing Mathematical Communication Skills in Probability of 9th Grade Students.
Authors: Onnicha Pantong
อรณิชา พานทอง
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
Naresuan University
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
artornn@nu.ac.th
artornn@nu.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
Math talk moves
ความน่าจะเป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
Math Talk Moves
Mathematical Communication Skills
ABL
Activity-Based Learning
Grade 9 Students
Issue Date: 2567
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to study the guidelines for implementing Activity Based Learning (ABL) combined with Math Talk Moves techniques and to examine mathematical communication skills regarding the probability of Grade 9 students. The sample group consists of 30 Grade 9 students in the second semester of the 2023 academic year from a school in one district of Phichit province, Thailand. The research methodology involves classroom-based action research conducted in three cycles. The research tools include: 1) Three lesson plans on probability, 2) Three subjective mathematical communication writing tests on probability, 3) a student mathematical communication behavior observation form, and 4) Activity-Based Learning (ABL) learning activity reflection form. Data were analyzed using content analysis. The trustworthiness of the data was verified using triangulation by using more than one source of data. The statistical methods used were mean, standard deviation, and paired samples t-test. The research found that the ABL-based learning activity with Math Talk Moves to enhance mathematical communication skills had the following key points and good practices: 1) Reviewing prior knowledge and assessing student readiness using real-life situations or activities students have previously engaged in. Teachers utilize the Revoicing technique to help students review knowledge, focusing on critical thinking or key points, and Repeating and Adding on techniques to stimulate collaborative responses to questions. 2) Using problem situations linked to previous problems or posing questions related to interconnected situations. Teachers employ the Reasoning technique to facilitate students in comparing conditions and establishing connections, preparing them for new situations. Repeating and Adding On techniques encourage students to contribute to peer review and add their own responses. 3) Collaborative group work, allowing students to discuss and exchange ideas within groups. 4) Students present and discuss their group's results, comparing them with other groups, and engaging in classroom exchanges. Teachers use Reasoning techniques to summarize based on students' reasoning and pose observations or questions for students to revise their thinking. 5) Evaluate the outcomes using worksheets or exercises to examine students' concepts and perspectives, enabling them to correct any misconceptions or flawed perspectives. The study concludes that Grade 9 students demonstrated improved mathematical communication skills through both oral and written means across the research cycles.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning) ร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves และเพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประจำอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร จำนวน 30 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 3 แผน  2) แบบวัดทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้วยการเขียน แบบอัตนัย เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 3 เรื่อง 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้วยการพูดของนักเรียน และ 4) แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning: ABL) ร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้าโดยใช้แหล่งข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่งสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่า t (Paired Samples T-Test) ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning) ร่วมกับเทคนิค Math Talk Moves ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ มีประเด็นที่ควรเน้นและแนวปฏิบัติที่ดี คือ 1) ทบทวนความรู้เดิมและตรวจสอบความพร้อมของนักเรียนโดยใช้ตัวอย่างสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ที่นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมมาแล้ว โดยครูใช้เทคนิค Revoicing (การแปลความ) เพื่อเป็นการช่วยนักเรียนทบทวนความรู้ เน้นความคิดหรือประเด็นสำคัญ และ Repeating (การพูดซ้ำ) กับ Adding on (การเติมข้อมูล) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม 2) ใช้สถานการณ์ปัญหาที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัญหาเดิมหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกัน โดยครูใช้เทคนิค Reasoning (การให้เหตุผล) เพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบเงื่อนไขและสร้างความเชื่อมโยงเตรียมพร้อมสู่สถานการณ์ใหม่ และใช้เทคนิค Repeating (การพูดซ้ำ) และ Adding On (การเติมข้อมูล) เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทบทวนคำตอบของเพื่อนและเพิ่มคำตอบของตนเอง 3) ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้นักเรียนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม 4) ให้นักเรียนนำเสนอ พูดคุยถึงผลลัพธ์ของกลุ่มตนเองเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ มีการแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน โดยใช้เทคนิค Reasoning (การให้เหตุผล) ในการสรุปโดยอ้างอิงเหตุผลของนักเรียนและตั้งคำถาม ข้อสังเกต เพื่อให้นักเรียน  Revise Thinking (การปรับเปลี่ยนแนวคิด) ปรับเปลี่ยนความเข้าใจหรือความคิดเดิมของตนเอง 5) ประเมินผลด้วยใบงานหรือแบบฝึกทักษะเพื่อตรวจสอบแนวคิด มโนทัศน์ของนักเรียนทำให้สามารถแก้ไขแนวคิดหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนได้ และผลการศึกษาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้วยการพูดและการเขียนเพิ่มขึ้นในแต่ละวงจรปฏิบัติการ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6213
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
OnnichaPantong.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.