Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6204
Title: การพัฒนาอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยการอภิปรายทางคณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติการสอน 5 ขั้น เรื่อง ทศนิยม
Development of Grade 4 students' mathematical identitiesthrough 5 practices mathematics discussion learningactivities in Decimals
Authors: Jeerawan Seetang
จีรวรรณ สีแตง
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
Naresuan University
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
artornn@nu.ac.th
artornn@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยการอภิปรายทาง คณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติการสอน 5 ขั้น, อัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และทศนิยม
5 practices mathematics discussion learning Mathematical Identities and Decimals
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This independent study aimed to investigate the implementation of mathematical discussion based on the 5 practice model to enhance mathematical identity among primary 4 students. Additionally, the study examined the students' mathematical identity following the intervention. The research employed a classroom action research approach, involving 20 students from an opportunity expansion school in Uthai Thani Province, Thailand. Data collection instruments included a reflection form on lesson management, an individual observation form of participation in activities, and a mathematical identity assessment. Qualitative data analysis was conducted using content analysis, while quantitative data was analyzed using descriptive statistics. Key Findings Effective teaching strategies in a classroom with students with reading and writing difficulties include: Utilize challenging and experience-based mathematical activities; Provide opportunities for students to express their ideas in various forms; Employ random selection for presentation order to foster a sense of shared learning; Stimulate student engagement and expression of ideas through open-ended questions; and Connect student ideas to create knowledge applicable to problem-solving.                                                                      Positive Impact found on Mathematical Identity: 70% of students demonstrated a moderate or higher level of mathematical identity across all aspects.                                                                                                    Implementing mathematical discussion activities based on the 5-E Instructional Model effectively enhances students' mathematical identity.
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายทางคณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติการสอน 5 ขั้นเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการเรียนรู้  การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ในโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดอุทัยธานี รวบข้อมูลโดยใช้แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมรายบุคคล แบบวัดอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงตัวเลข ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ในบริบทห้องเรียนที่มีนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง มีจุดเน้นคือ ใช้งานทางคณิตศาสตร์ที่ท้าทายและสอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงแนวคิดในรูปแบบที่หลากหลาย เลือกและจัดลำดับในการนำเสนอโดยใช้วิธีการสุ่มเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในการเรียนรู้ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหา      2. นักเรียนร้อยละ 70 มีระดับอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปในทุกด้าน กล่าวได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายทางคณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติการสอน 5 ขั้น ช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6204
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JeerawanSeetang.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.