Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6201
Title: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
LEARNING IMPLEMENTATION USING  MATHEMATICAL ARGUMENTATION TO ENHANCE CREATIVE THINKING ABILITY ON THE TOPIC OF FUNDAMENTAL COUNTING PRINCIPLE FOR GRADE 10 STUDENTS
Authors: Kanyanat Phivuttipan
กัญญาณัฐ ไผ่วุฒิพันธ์
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
Naresuan University
Wanintorn Poonpaiboonpipat
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์
wanintorns@nu.ac.th
wanintorns@nu.ac.th
Keywords: การโต้แย้งทางคณิตศาสตร์
การคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
หลักการนับเบื้องต้น
Mathematical Argumentation
Creative Thinking Ability
Fundamental Counting Principle
Issue Date: 2567
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study 1) the appropriate way of learning implementation using mathematical argumentation to enhance creative thinking ability,  and 2) the effects of learning implementation using mathematical argumentation to enhance creative thinking ability on the topic of fundamental counting principle for grade 10 students. The target group was 40 students in grade 10/1 of a high school in Nakhon Sawan Province in the second semester of academic year 2023 by purposive sampling. The research methodology was the classroom action research comprising of three cycles and took totally 10 hours. The instruments used in the research were three lesson plans, a reflective learning form, activity sheets, and a creative thinking ability test. Data were analyzed by content analysis, and percentage. The results revealed that 1. The learning implementation using mathematical argumentation on the topic of fundamental counting principle composed of 4 steps as follow: 1) generating cases, 2) conjecturing, 3) justifying, and 4) concluding. Additionally, the teacher should emphasis on selecting scenarios that are representative of real-world events, maintaining practice and the development of creative thinking ability, and providing students with mathematical arguments through which they can express their opinions. The teacher should also utilize open-ended questions to provoke critical thinking and encourage students to revise their work after receiving thorough criticism. 2. The majority of students were in the highest degree of creative thinking ability. Students' ability to be creative was most developed in the area of flexibility, then fluency, and least developed in the area of originality.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกรณี ขั้นตอนที่ 2 การคาดเดา ขั้นตอนที่ 3 การแสดงเหตุผล และขั้นตอนที่ 4 การสรุป มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การใช้สถานการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการหาคำตอบที่หลากหลาย โดยครูจะต้องใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นความคิดและให้นักเรียนดำเนินการปรับปรุงตามคำแนะนำหลังจากการวิพากษ์วิจารณ์อย่างละเอียด 2. นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีการพัฒนาองค์ประกอบด้านความคิดยืดหยุ่นมากที่สุด รองลงมาคือองค์ประกอบด้านความคิดคล่อง และองค์ประกอบด้านความคิดริเริ่มพัฒนาน้อยที่สุด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6201
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KanyanatPhivuttipan.pdf9.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.