Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6121
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 Development of indicator for STEM Education’s teacher competency in the 21st Century |
Authors: | Thitaree Seebunpheng ฐิตารีย์ ศรีบุญเพ็ง Aumporn Lincharoen เอื้อมพร หลินเจริญ Naresuan University Aumporn Lincharoen เอื้อมพร หลินเจริญ aumpornli@nu.ac.th aumpornli@nu.ac.th |
Keywords: | สะเต็มศึกษา สมรรถนะครูผู้สอน ศตวรรษที่ 21 STEM teacher competency the 21st century |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aimed to 1) study the synthesis of components and indicators of STEM teacher competency in the 21st century. 2) test the consistency of the structural equation model of STEM teacher competency indicators in the 21st century with empirical data. 3) examine the quality of STEM teacher competency indicators in the 21st century. The study used quantitative research methods. The sample group was teachers of the science and technology and mathematics subject group. In STEM education center schools in 13 regions, number of teachers was 450, which used a multi-stage random sampling method. There are of instruments used in the research: 1) Quiz Test to measure competency in knowledge of STEM teachers in the 21st century, multiple-choice exam, 4 options. 2) skill and traits of STEM teachers competency in the 21st century by was a five rating scale assessment, 3) the competency indicator quality assessment form is a five level rating questionnaire and 4) the competency indicator quality assessment form is a 5-level rating scale (Likert Five Rating Scales). Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, and second order confirmatory factor analysis by using the LISREL software.
1. The results of the study synthesized the components and indicators of STEM teacher competency in the 21st century can be categorized into three components; 16 indicators, for Knowledge 5 indicators, skills 8 indicators and traits 3 indicators.
2. Results of the consistency test of the structural equation model of competency indicators for STEM teachers in the 21st century with empirical data. (χ2) = 106.07 (df=88, p = 0.092), ( χ2)/df =1.205, GFI = 0.97, AGFI = 0.96 ,RMSEA = 0.021 The standardized factor loading of each factor ranged from 0.50 to 1.00 and the standardized factor loading of each indicator ranged from 0.49 to 1.67
3. Results of the quality inspection of the STEM teacher competency indicators in the 21st century in credibility, appropriateness, feasibility, utility: had an overall average scores that were at the highest level. บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มในศตวรรษที่ 21 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนศูนย์สะเต็มศึกษาภาค 13 ภูมิภาค ทั้งหมด 450 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านความรู้(Knowledge) ครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก 3) แบบประเมินสมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะ(Skill) ด้านคุณลักษณะ(Traits) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 4) แบบประเมินคุณภาพตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นแบบแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of variation) ความเบ้ (Skewness) ความโด่ง (Kurtosis) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment coefficient) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มในศตวรรษที่ 21 จำนวน 3 องค์ประกอบ จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ด้านทักษะ (Skill) จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ และด้านคุณลักษณะ (Traits) จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า χ2 = 106.07 (df=88, p = 0.092) ที่ระดับ .05 ค่า χ2/df =1.205, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.021 มีค่าเป็นไปตามเกณฑ์ทุกค่า แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.50 ถึง 1.00 แต่ละตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในช่วง 0.49 ถึง 1.67 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านความเชื่อถือได้ (credibility) ด้านความเหมาะสม (appropriateness) ด้านความเป็นไปได้ (feasibility) ด้านความเป็นประโยชน์ (utility) ทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6121 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ThitareeSeebunpheng.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.