Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6060
Title: THE DEVELOPMENT OF READING COMPREHENSION EXERCISE FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS BY USING THE REAP METHOD WITH THINK - PAIR - SHARE TECHNIQUE
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Nuttakiad Jaroensook
ณัฐเกียรติ เจริญสุข
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Naresuan University
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
kanchanaw@nu.ac.th
kanchanaw@nu.ac.th
Keywords: วิธีการสอนแบบ REAP, เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด, การอ่านจับใจความ, แบบฝึกทักษะ
REAP teaching method Think – pair - share Reading comprehension Skill exercises.
Issue Date:  23
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to: 1) Develop and enhance the effectiveness of reading comprehension skill exercises using the REAP teaching method along with think – pair – share technique for 5th grade students to be efficiency 80/80, 2) compare the reading comprehension skill during Pretest and Posttest learning of 5th grade students, 3) study the satisfaction levels of 5th grade students towards skill-based training to promote reading comprehension using the REAP teaching method along with think – pair – share technique. The sample group consisted of 31 5th grade students selected through cluster sampling. Research instruments included: 1) the Reading comprehension skill exercises for 5th grade students, 2) Lesson plans on reading comprehension for 5th grade students using the REAP teaching method along with think – pair – share technique totaling 5 plans,3) A comprehension test measuring reading comprehension abilities with 30 multiple-choice questions, 4) A satisfaction assesement form. The data analysis used (E1/E2), mean (x̅), standard deviation (S.D.), and dependent t-test. The research results found that: 1) The results of construction of reading comprehension skill exercises for the 5th grade students (E1/E2) was 80.26/84.84 which is higher than 80/80 of criterion. 2) The average score of the results of comparing reading comprehension skills during Pretest and Posttest learning were 15.97 and 23.71 which the posttest score significantly is higher than pretest score at .05 level. 3) The overall satisfiend of the result of the test on the student’s satisfaction of learning was the most satisfiend  (x̅ = 4.57, S.D. = 0.12).
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ เป็นแบบทดสอบรูปแบบปรนัย 1 ฉบับ ชนิดเลือกคำตอบ จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้  ด้วยแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า   t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 80.26/84.84 2) แสดงผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.97 และ 23.71  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แสดงผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการสอนแบบ REAP ร่วมกับการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (x̅  = 4.57, S.D. = 0.12)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6060
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65060467.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.