Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6055
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
The development of a hybrid learning model based on the concept of active learning with digital platforms to promote digital intelligence for pre teacher student teaching student Bachelor’s degree
Authors: Nittaya Nak-in
นิตยา นาคอินทร์
Kittipong Phumpuang
กิตติพงษ์ พุ่มพวง
Naresuan University
Kittipong Phumpuang
กิตติพงษ์ พุ่มพวง
kittipongp@nu.ac.th
kittipongp@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด
การเรียนรู้เชิงรุก
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ความฉลาดทางดิจิทัล
ดิจิทัลแพลตฟอร์ม
hybrid learning
active learning
a hybrid learning model based on the concept of active learning with digital platforms to promote digital intelligence
digital platforms
digital Intelligence
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) Study the current conditions and needs regarding the hybrid learning management model based on the concept of active learning. With a digital platform to promote digital intelligence for students of the teaching profession. 2) Create and find quality hybrid learning management formats based on the concept of active learning. With a digital platform to promote digital intelligence for students of the teaching profession. 3) Study the results of using a hybrid learning management model based on the concept of active learning. With a digital platform to promote digital intelligence for students of the teaching profession. 4) Evaluate the hybrid learning management model based on the active learning concept. With a digital platform to promote digital intelligence for students of the teaching profession. Conducting research in 4 steps: 1) Study the current conditions and needs regarding Hybrid learning management format. 2) Create and find quality hybrid learning management formats. 3) Study the results of using the hybrid learning management model. 4) Evaluate the hybrid learning management model. The sample group is teaching professional students. Department of Physical Education, Faculty of Education, Phetchabun Rajabhat University, 1st year, 30 students, by purposive sampling. The research Instruments were 1) An interview form with teacher representatives, 2) A student questionnaire. 3) Hybrid learning management model based on the concept of active learning. With a digital platform to promote digital intelligence, 4) The student group performance evaluation form, 5) The situational learning reflection record form, 6) The self-assessment form to measure situational digital intelligence. The statistics used in data analysis are mean and standard deviation. The research results found that 1. Problems and needs of both teachers and students that can be used to create a hybrid learning management model based on the concept of active learning with a digital platform to promote digital intelligence. etc. are as follows: 1) Learning management format that promotes digital intelligence Necessary skills should be developed for students. There is interaction in the classroom with both peers and the teacher through reading, speaking, listening, writing, discussion, and reflection. It is important to be able to create knowledge on your own. 2) Learning management format that promotes digital intelligence It should make students participate in classroom activities. Become more hands-on with teaching and learning activities. 3) Integrate knowledge Makes students gain knowledge that comes from hands-on experience. 4) Use digital platforms It is a tool for organizing teaching and learning. 5) Learning management format that promotes digital intelligence for student teachers It should be in such a way that students can study both in a regular classroom and an online classroom, studying with friends at the same time. 6) Learning management format that promotes digital intelligence for student teachers It should be a learning arrangement in which students participate in classroom activities. 7)Learning management format that promotes digital intelligence for student teachers. Emphasis should be placed on allowing students to express their opinions, think analytically, and encourage students to exchange and learn together. Including discussion of results and reflection. 2. Hybrid learning management model based on the concept of active learning with a digital platform to promote digital intelligence, consisting of: Part 1: Concepts and theories of the model include: Hybrid learning management format Active learning digital platform digital intelligence. Part 2: Hybrid learning management model based on the concept of active learning with a digital platform to promote digital intelligence, consisting of principles, objectives, content, and hybrid learning management process according to the learning concept. Know proactively with a digital platform to promote digital intelligence, consisting of 3 steps: 1) Step 1: Preparation step. 2) Step 2: Step of carrying out learning activities. In this step, there will be 4 sub-formats of learning, divided according to content: 2.1 Introduction to the lesson, 2.2 Situation presentation step, 2.3 Research step, 2.4 Problem analysis step, 2.5 Knowledge creation step, 2.6 Reflection step. 3) Step 3, summary step: measurement and evaluation. Factors that facilitate learning include 1) organizing hybrid learning based on the concept of active learning with a digital platform, 2) responsive principles, and 3) support systems. Part 3: Implementing the learning management model and Part 4: Effects on students It consists of direct effects and indirect effects. It is appropriate at a high level ( x̄ = 4.41, S.D. = 0.22) with a mean of 4.41 and a standard deviation of 0.22. 3. The results of the study of using a hybrid learning management model based on the concept of active learning with a digital platform to promote digital intelligence found that 1) the digital intelligence of teaching professional students is at the level Very much ( x̄ = 4.34, S.D. = 0.72) 2) Students have increased reflection on digital intelligence and are able to apply their knowledge to the situation in the digital world. 4. Results of certification of the hybrid learning management model based on the concept of active learning with a digital platform to promote digital intelligence. According to the opinions of experts It was found that the suitability was at a high level ( x̄ = 4.27, S.D.= 0.48).
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูฯ 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูฯ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูฯ ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดฯ 2) สร้างและหาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดฯ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ตัวแทนอาจารย์ 2) แบบสอบถามนักศึกษา 3)รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล 4) แบบประเมินผลงานกลุ่มของผู้เรียน 5) แบบบันทึกสะท้อนการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ 6) แบบประเมินตนเองวัดความฉลาดทางดิจิทัลเชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการของทั้งผู้สอนและผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างเป็นที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ มีดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล ควรพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนทั้งกับเพื่อนและผู้สอนผ่านการอ่าน การพูด การฟัง การเขียน การอภิปรายและการสะท้อนคิดเป็นสำคัญเพื่อสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล ควรทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น 3) บูรณาการความรู้ ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การลงมือปฏิบัติ 4) ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน 5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู ควรเป็นในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทั้งในห้องเรียนปกติและห้องเรียนออนไลน์เรียนพร้อมเพื่อนในเวลาเดียวกัน 6) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู ควรเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน 7) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู ควรเน้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น คิดวิเคราะห์ กระตุ้นให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการอภิปรายผลและสะท้อนคิด 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ของรูปแบบประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด การเรียนรู้เชิงรุก ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ความฉลาดทางดิจิทัล ส่วนที่ 2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ ประกอบด้วย หลักการ วัตกุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ในขั้นตอนนี้จะมีการจัดการเรียนรู้ 4 รูปแบบย่อย โดยแบ่งตามเนื้อหา 2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2.2 ขั้นนำเสนอสถานการณ์ 2.3 ขั้นศึกษาค้นคว้า 2.4 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 2.5 ขั้นสร้างองค์ความรู้ 2.6 ขั้นสะท้อนคิด 3) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุป การวัดและประเมินผล และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประกอบด้วย 1) จัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม 2) หลักการตอบสนอง และ 3) ระบบสนับสนุน ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และส่วนที่ 4 ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน ประกอบด้วยผลทางตรงและผลทางอ้อม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.41, S.D. = 0.22)  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่  4.41 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อยู่ที่ 0.22 3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ พบว่า 1) ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34, S.D. = 0.72) 2) นักศึกษามีการสะท้อนคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นและสามารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์โลกดิจิทัลต่อไปได้ 4. ผลการรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลฯ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณฒวุฒิ พบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 4.27, S.D. = 0.48)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6055
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NittayaNakin.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.