Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6022
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
A development of learning activities by socio-scientific issue (ssi) to enhance environmental literacy for grade 9 students    
Authors: Jiraporn Doknoi
จิราภรณ์ ดอกน้อย
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
Naresuan University
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
jakkritj@nu.ac.th
jakkritj@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้, ประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม, การรู้สิ่งแวดล้อม
Activity Socio-Scientific Issue (SSI) environmental literacy
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this study were 1) to create and determine the effectiveness of Learning Activities by Socio-Scientific Issue (SSI) to enhance environmental literacy for 9th grade students according to the criteria of 75/75, 2) to compare the environmental literacy on the environment before and after learning with the proposed learning method. The sample group consisted of 40 ninth grade students in the semester 2 of academic year 2022 at Phitsanulok Pittayakom school. The sample group of students was selected by cluster random sampling. Research tools were learning activities by Socio-Scientific Issue (SSI), environmental literacy test. One group pretest posttest design total for 14 hours. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation percentage, and dependent sample t-test. The research results showed that 1. Learning activities by Socio-Scientific Issue (SSI) to enhance environmental literacy for 9th grade students there are 6 stages of development: 1) Topic Introduction 2) Challenging Core Beliefs 3) Group Activity 4) comprehension inspection 5) Summary the concept 6) Knowledge and Reasoning Assessment with an efficiency of 77.25/76.72, which meets the specified criteria. 2. It was also found that the students learning with Socio-Scientific Issue (SSI) having environmental literacy in terms of knowledge, awareness and behavior after learning with the proposed learning method, a level of significance of .05.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบการรู้สิ่งแวดล้อมด้านความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม 2) แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 14 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการนำเสนอหัวข้อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม 2) ขั้นการท้าทายความเชื่อหลัก 3) ขั้นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ 4) ขั้นการตรวจสอบความเข้าใจ 5) ขั้นการสรุปความคิดรวบยอด และ 6) ขั้นการใช้ความรู้และการใช้เหตุผลการประเมิน โดยผลการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.25/76.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม มีการรู้สิ่งแวดล้อมทั้งด้านความรู้ ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6022
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JirapornDoknoi.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.